ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
90 ตัวอย่างของสัญญาทางปกครองเท่านั้น คาว่า “สัญญาทางปกครอง” อาจมีความหมายมากกว่าที่กาหนดไว้ใน มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้ 33 3.4.2.2 สัญญาทางปกครองตามมติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด มติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 6/2544 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 ได้กาหนดว่า “สัญญาใดจะเป็นสัญญาทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ได้ นั้น ประการแรก คู่สัญญาอย่างน้อยฝุายใดฝุายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับ มอบหมายกระทาการแทนรัฐ ประการที่สอง สัญญานั้นมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทาบริการ สาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็นสัญญาที่ หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทาการแทนรัฐ ตกลงให้คู่สัญญาอีกฝุายหนึ่งเข้าดาเนินการหรือเข้าร่วม ดาเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกาหนดในสัญญาซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึง เอกสิทธิ์ของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้อานาจทางปกครองหรือการดาเนินกิจการทางปกครองซึ่งก็คือการบริการ สาธารณะบรรลุผล ดังนั้น หากสัญญาใดเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทาการแทนรัฐ มุ่งผูกพันตนกับคู่สัญญาอีกฝุายหนึ่งด้วยใจสมัคร บนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค และมิได้มีลักษณะเช่นที่กล่าว มาแล้วข้างต้น สัญญานั้นย่อมเป็นสัญญาทางแพ่ง” 3.4.3.3 สัญญาทางปกครองตามคาวินิจฉัยชี้ขาดอานาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอานาจหน้าที่ระหว่างศาลได้กาหนดว่า สัญญาทางปกครอง ได้แก่ สัญญาที่จัดทา ขึ้นเพื่อให้การดาเนินการจัดทาบริการสาธารณะให้บรรลุผล หรือสัญญาที่มีข้อกาหนดเรื่องเอกสิทธิ์ของรัฐ จากที่กล่าวมาข้างต้น สัญญาทางปกครองจึงหมายถึง 1. คู่สัญญา คู่สัญญาอย่างน้อยฝุายใดฝุายหนึ่งต้องเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็น บุคคลซึ่งกระทาการแทนรัฐ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 2. เนื้อหาของสัญญา 2.1 สัญญาทางปกครองโดยผลของกฎหมาย ได้แก่ 2.1.1 สัญญาสัมปทาน หมายถึง สัญญาที่หน่วยงานทางปกครองอนุญาตให้เอกชน จัดทาบริการสาธารณะด้วยงบประมาณและความเสี่ยงของตนเอง ในกิจการด้านสาธารณูปโภคอย่างใด อย่างหนึ่ง และเอกชนนั้นมีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการจากประชาชนผู้มาใช้บริการเป็นการตอบแทนได้ 34 เช่น สัญญาสัมปทานทางยกระดับ (คาสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 594/2553) สัญญาสัมปทานการเดินรถประจาทาง เป็นต้น 33 จิรนิติ หะวานนท์, คาอธิบายวิชากฎหมายปกครอง (ภาคทั่วไป) , พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพมหานคร: สานักอบรม ศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2550), หน้า 74. 34 อริยพร โพธิใส, “คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง,” จุลนิติ 8, 1 (มกราคม–กุมภาพันธ์ 2554): 178.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3