ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
1 ภาค 1 ธรรมนูญศาลปกครอง แนวความคิดในการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในประเทศไทย ได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เนื่องจากมีกลุ่มผู้คัดค้านที่พยายามยกเหตุผลโต้แย้ง การดาเนินการดังกล่าวมาโดยตลอด ศาลปกครองจึงเพิ่งจัดตั้งได้สาเร็จเมื่อ พ.ศ. 2542 ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 1 ดังนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบันคือ ปี พ.ศ. 2567 ประเทศไทยจึงได้เปลี่ยนจากการใช้ ระบบศาลเดี่ยวมาใช้ระบบศาลคู่ กล่าวคือ มีการแยกศาลยุติธรรมและศาลปกครองออกจากกัน โดยคดีทั่วไป อันได้แก่คดีแพ่งและคดีอาญาจะอยู่ในอานาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนคดีปกครองจะอยู่ใน อานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง 2 สาหรับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาลปกครองคือ 1. คดีทั่วไปและคดีปกครองนั้นมีลักษณะที่แตกต่าง กันหลายประการ เช่น คู่ความในคดี ลักษณะข้อพิพาท หลักกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติที่ใช้ ในการพิจารณาคดี ฯลฯ ดังนั้น จึงจาเป็นต้องตั้งศาลปกครองขึ้นมาเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 3 กล่าวคือ ตุลาการศาลปกครองต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายมหาชนและมีประสบการณ์เกี่ยวกับ การบริหารราชการแผ่นดิน 2. เนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างฝุายปกครองกับเอกชนมิได้เท่าเทียมกันเหมือน นิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ทั้งยังทาเป็นเอกสาร ซึ่งเอกสารนั้นเกือบทั้งหมดจะอยู่ในความครอบครอง ของฝุายปกครอง หากให้เอกชนนาคดีไปฟูองต่อศาลยุติธรรมและใช้วิธีพิจารณาคดีระบบกล่าวหา ก็ย่อมจะเป็น การยากที่เอกชนจะหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ยืนยัน ข้อกล่าวอ้างของตนเองได้ ดังนั้น จึงจาเป็นต้องจัดตั้ง ศาลปกครองขึ้นมา และกาหนดให้ใช้วิธีพิจารณาคดี ระบบไต่สวน เพื่อให้ศาลมีอานาจหน้าที่ในการแสวงหา ข้อเท็จจริงแห่งคดี อันจะก่อให้เกิดความธรรมแก่เอกชนในการต่อสู้คดี 4 3. เพื่อนาระบบการคานดุลพินิจของ ตุลาการมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง 1 นันทวัฒน์ บรมานันท์ และคณะ, รายงานการวิจัย เรื่อง การติดตามและการประเมินผลการทางานของ ศาลปกครอง (กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2547), หน้า 99. 2 ศาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ศาล คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลทหาร ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ซึ่งระบบ ศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่ เป็นการพิจารณาจากศาลยุติธรรมและศาลปกครองเท่านั้น 3 บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง , พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ วิญญูชน, 2561), หน้า 26. 4 พิศณุ พูนเพชรพันธุ์, รายงานการวิจัย เรื่อง การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการดาเนินคดีทางปกครอง (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2550), หน้า 39 - 40.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3