ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

2 บทที่ 1 ธรรมนูญศาลปกครอง 1. บทนา เนื้อหาของธรรมนูญศาลปกครอง เช่น โครงสร้างของศาลปกครอง ข้าราชการตุลาการ ศาลปกครอง ข้าราชการฝุายศาลปกครอง พนักงานคดีปกครอง สานักงานศาลปกครอง คณะกรรมการ ตุลาการศาลปกครอง คณะกรรมการบริหารศาลปกครอง คณะกรรมการข้าราชการฝุายศาลปกครอง เป็นต้น 2. โครงสร้างของศาลปกครอง ศาลปกครองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ตามที่กาหนดไว้ในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 คือ 2.1 ศาลปกครองสูงสุด 2.2 ศาลปกครองชั้นต้น ข้อสังเกต ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2567) ศาลปกครองไม่มีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์เหมือนศาลยุติธรรม ซึ่งอาจเป็นเพราะจานวนตุลาการไม่เพียงพอ ประกอบกับปัญหาเรื่องงบประมาณ แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่า ในอนาคต ประเทศไทยควรกาหนดให้มีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่ได้รับความ เดือดร้อนเสียหายในคดีปกครองมีสิทธิต่อสู้คดีได้ถึง 3 ชั้นศาล เหมือนศาลยุติธรรม 3. การเปิดทาการศาลปกครอง การแบ่งเป็นแผนกในศาลปกครอง และการเปลี่ยนแปลงเขตท้องที่ ที่ศาลปกครองชั้นต้น 3.1 การเปิดทาการศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองใน ภูมิภาคจะเปิดทาการเมื่อใด ให้ประธานศาลปกครองสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ศป. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษากาหนดวันเปิดทาการของศาลปกครอง ตามมาตรา 8 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 3.2 การแบ่งเป็นแผนกในศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้นอาจแบ่งเป็น แผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และจะให้มีอานาจในคดีประเภทใดหรือคดีในท้องที่ใดซึ่งอยู่ในเขต อานาจของแต่ละศาลนั้น แยกต่างหากโดยเฉพาะก็ได้ โดยให้ออกเป็นประกาศประธานศาลปกครองสูงสุดโดย ความเห็นชอบของ ก.บ.ศป. ซึ่งประกาศประธานศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวเมื่อได้ประกาศในราชกิจจา นุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ตามมาตรา 7 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3