ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
135 5. เงื่อนไขเกี่ยวกับการดาเนินการสาหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนการฟ้องคดี การดาเนินการสาหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนการฟูองคดี เป็นกระบวนการที่ กาหนดขึ้นมาเพื่อให้ฝุายปกครองได้ทบทวนภายในฝุายปกครองเอง เพื่อแก้ไขและเยียวยา ซึ่งเรียกว่า การควบคุมโดยองค์กรภายในฝุายปกครอง และเนื่องจากผู้ที่ควบคุมนี้เป็นส่วนหนึ่งของฝุายปกครอง ผู้ที่ควบคุมจึงควบคุมได้ทั้งความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมของการใช้ดุลพินิจ 38 สาหรับในกรณีที่มีกฎหมายกาหนดขั้นตอนหรือวิธีการ สาหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหาย ในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟูองคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทาได้ต่อเมื่อมีการดาเนินการตามขั้นตอนและ วิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควร หรือภายใน เวลาที่กฎหมายนั้นกาหนดตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. 2542 จากที่กล่าวมาข้างต้น หลักเกณฑ์ของการดาเนินการสาหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อน การฟูองคดี ตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แบ่งออกเป็น 3 ประการ ดังนี้ 1. มีกฎหมายกาหนดขั้นตอนหรือวิธีการสาหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้โดยเฉพาะ 2. ผู้ฟูองคดีปกครองได้มีการดาเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าวแล้ว 3. ได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควร หรือมิได้มีการสั่งการ ภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกาหนด 5.1 กรณีที่ต้องดาเนินการเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนการฟ้องคดี คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทาการโดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย ในการออกคาสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เป็นกรณีที่มีกฎหมายกาหนดขั้นตอนหรือวิธีการ สาหรับการแก้ไข ความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้โดยเฉพาะ ก่อนการนาคดีไปฟูองต่อศาล ดังนั้น จึงต้องดาเนินการเพื่อแก้ไข ความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนการฟูองคดี ตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 สาหรับขั้นตอนหรือวิธีการสาหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนการฟูองคดี ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการออกคาสั่งทางปกครองนั้น ตามหลักกฎหมายทั่วไป คู่กรณีต้องอุทธรณ์คาสั่งทาง ปกครองโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทาคาสั่งทางปกครองภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคาสั่งดังกล่าว ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่หากมีกฎหมาย เฉพาะกาหนดขั้นตอนหรือวิธีการสาหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนการฟูองคดี ไว้ 38 ธีรวัฒน์ ขวัญใจ. คาอธิบายกฎหมายศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (สงขลา: โรงพิมพ์ เอเพ็ค เซอร์วิส, 2560), หน้า 15.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3