ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
137 ข้อสังเกต ข้อที่ 1 . แม้ผู้ฟูองคดีจะยื่นอุทธรณ์คาสั่งทางปกครอง เมื่อพ้นกาหนดระยะ เ วลาที่ ผู้ฟูองคดีมีสิทธิยื่นอุทธรณ์แล้วก็ตาม แต่หากผู้มีอานาจพิจาณาอุทธรณ์ได้รับคาอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณา ก็ถือว่า ผู้ฟูองคดีได้ดาเนินการเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนการฟูองคดีแล้ว ข้อที่ 2. แม้ผู้ฟูองคดีจะยื่นอุทธรณ์คาสั่งทางปกครองต่อผู้บังคับบัญชา แล้วผู้บังคับบัญชามิได้ส่ง คาอุทธรณ์นั้นไปให้ผู้มีอานาจพิจาณาอุทธรณ์ก็ตาม ก็ถือว่าผู้ฟูองคดีได้ดาเนินการเพื่อแก้ไขความเดือดร้อน หรือเสียหายก่อนการฟูองคดีแล้ว หลังจากได้มีการอุทธรณ์คาสั่งทางปกครองนั้นแล้ว ผู้ฟูองคดีจะนาคดีไปฟูองได้ก็ต่อเมื่อ 1. ได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หมายความว่า ผู้ฟูองคดีได้รับทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์ นั้นแล้ว หรือ 2. มิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควร คือ ผู้มีอานาจพิจาณาอุทธรณ์มิได้มีคาสั่ง อันเนื่องมาจากการพิจารณาอุทธรณ์นั้น ภายในเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคาอุทธรณ์ (คาพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ คส. 260/2546 (ประชุมใหญ่)) หรือ 3. มิได้มีการสั่งการภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกาหนด กล่าวคือ ผู้มีอานาจพิจาณาอุทธรณ์มิได้ มีคาสั่งอันเนื่องมาจากการพิจารณาอุทธรณ์นั้น ภายในเวลาที่กฎหมายเฉพาะกาหนดไว้ 5.2 กรณีที่ไม่ต้องดาเนินการเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนการฟ้องคดี หมายความว่า เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกาหนดขั้นตอนหรือวิธีการ สาหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้โดยเฉพาะ ก่อนการนาคดีไปฟูองต่อศาล ดังนั้น จึงสามารถฟูองคดีได้เลย ไม่ต้องดาเนินการเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือ เสียหายก่อนการฟูองคดี เช่น 5.2.1 คดีพิพาทเกี่ยวกับการออกกฎ 5.2.2 คาสั่งทางปกครองทั่วไป 5.2.3 คาสั่งทางปกครองที่ออกโดยรัฐมนตรี ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 5.2.4 คาสั่งทางปกครองที่ออกโดยคณะกรรมการ ตามมาตรา 48 ประกอบมาตรา 87 แห่ง พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 5.2.5 คาสั่งทางปกครองที่มีกฎหมายกาหนดให้เป็นที่สุด 5.2.6 คาสั่งทางปกครองที่มีกฎหมายกาหนดให้ฟูองศาลปกครองได้เลย 5.2.7 การกระทาละเมิดทางปกครอง เว้นแต่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทาละเมิดทางปกครอง อันเกิดจากคาสั่งทางปกครอง ต้องมีการอุทธรณ์คาสั่งทางปกครองนั้นก่อนการฟูองคดี 5.2.8 สัญญาทางปกครอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3