ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
3 ในกรณีที่มีการจัดตั้งแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นขึ้นในศาลปกครองสูงสุดหรือศาล ปกครองชั้นต้นใด ให้มีตุลาการหัวหน้าแผนกหรือตุลาการหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้น แผนกหรือ หน่วยงานละหนึ่งคน เพื่อรับผิดชอบงานของแผนกหรือหน่วยงานดังกล่าว ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.บ.ศป. กาหนด ตามมาตรา 7/1 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 3.3 การเปลี่ยนแปลงเขตท้องที่ที่ศาลปกครองชั้นต้น การเปลี่ยนแปลงเขตท้องที่ที่ศาลปกครอง ชั้นต้นมีเขตอานาจ ในกรณีที่มีความจาเป็นเพื่อประโยชน์ในการอานวยความยุติธรรมแก่ประชาชน โดยคานึงถึงสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การบริหารจัดการคดี และระยะเวลาพิจารณาพิพากษาคดี ให้กระทาโดยข้อเสนอของ ก.บ.ศป. และตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 8/1 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 4. ข้าราชการศาลปกครอง ข้าราชการศาลปกครอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามมาตรา 11/1 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครอง ดังนี้ 4.1 ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง หมายถึง ผู้ที่มีอานาจและหน้าที่ในการพิจารณาและ พิพากษาคดี โดยข้าราชการตุลาการศาลปกครองแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ตุลาการในศาลปกครอง สูงสุด 2. ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น และ 3. ตุลาการประจาศาลปกครองชั้นต้น ข้อสังเกต สาหรับศาลปกครอง ผู้ที่มีอานาจและหน้าที่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีเรียกว่า “ตุลาการ” ส่วนศาลยุติธรรม ผู้ที่มีอานาจและหน้าที่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีเรียกว่า “ผู้พิพากษา” 4.2 ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พนักงานคดีปกครอง และข้าราชการอื่น นอกจากพนักงานคดีปกครอง เช่น ข้าราชการที่ทาหน้าที่ทางธุรการหรือการเงิน เป็นต้น 5. ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง ในการพิจารณาคดีปกครองนั้น ตุลาการศาลปกครองจะเป็นผู้ควบคุมตรวจสอบการใช้อานาจของ ฝุายปกครอง ตุลาการศาลปกครองจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายปกครอง และต้องมีความรู้ความ เข้าใจระบบการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เพื่อที่จะได้รู้ว่ากรณีใดสามารถเข้าไปควบคุมตรวจสอบการกระทา ของฝุายปกครองได้ โดยไม่ทาให้เสียประสิทธิภาพในการทางาน และรู้ว่ากรณีใดไม่สมควรก้าวล่วงเข้าไป แทรกแซงฝุายปกครอง ในเรื่องที่เป็นดุลพินิจของฝุายปกครองโดยแท้ เพื่อมิให้ศาลก้าวไปทาตนเป็น ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของฝุายปกครอง นอกจากนั้น ในศาลปกครองจะต้องมีจานวนตุลาการที่เพียงพอในการ พิจารณาพิพากษาคดีด้วย 5 5 วรลักษณ์ รัตนพันธุ์, “แนวทางกาหนดคุณสมบัติและที่มาของผู้พิพากษาศาลปกครองในประเทศไทย,” (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2540), หน้า 2.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3