ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

7 อื่นตามที่ ก.ศป. กาหนด โดยให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจาตาแหน่งในอัตราที่ไม่ต่ากว่าเดิม ตามมาตรา 15/2 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในกรณีที่ประธานศาลปกครองสูงสุดลาออกจากตาแหน่งก่อนครบวาระ 4 ปี นับแต่วันที่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และยังไม่พ้นจากตาแหน่งตุลาการศาลปกครองตามมาตรา 21 (3) ก.ศป. อาจแต่งตั้งผู้นั้นให้ดารงตาแหน่งตุลาการในศาลปกครองสูงสุดในตาแหน่งอื่น โดยให้ได้รับเงินเดือนและ เงินประจาตาแหน่งในอัตราที่ ก.ศป. กาหนดก็ได้ ตามมาตรา 15/2 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 5.2 ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น 5.2.1 ตาแหน่งตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น ในศาลปกครองชั้นต้นแต่ละศาล ให้มีตาแหน่งตุลาการศาลปกครอง ตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังต่อไปนี้ (1) อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น (2) รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น (3) ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น (4) ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น (5) ตุลาการศาลปกครองชั้นต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ศป. ประกาศกาหนด 5.2.2 คุณสมบัติของตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น เนื่องจากตุลาการศาลปกครองต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจในกฎหมาย มหาชนเป็นอย่างดี และจะต้องมีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 18 จึงกาหนดว่า ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (1) มีสัญชาติไทย (2) มีอายุไม่ต่ากว่า 35 ปี ข้อสังเกต ตุลาการศาลปกครองสูงสุดต้องมีอายุไม่ต่ากว่า 45 ปี ส่วนตุลาการศาล ปกครองชั้นต้นต้องมีอายุไม่ต่ากว่า 35 ปี (3) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ศป. กาหนด และ (4) มีคุณสมบัติอื่นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (ก) (ยกเลิก) (ข) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่น้อยกว่า 3 ปี ในตาแหน่งพนักงานคดีปกครองใน ระดับที่ ก.ศป. กาหนด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3