แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 1. กฎหมายอาญา เนื่องจากการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมนุษย์ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเกิดที่ขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการกระทำความผิดอาญา ซึ่งเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งต่อความเป็น ระเบียบเรียบร้อยของสังคม จนอาจส่งผลต่อประโยชน์ในการอยู่ร่วมกัน ดังนั้น เพื่อความยุติธรรมและ การรักษาความสงบเรียบร้อย 2 จึงต้องมีการควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมด้วยกฎหมาย โดยที่ กฎหมายอาญาจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดความผิดในลักษณะกติกาของสังคม เพื่อคุ้มครอง สังคมให้ปกติสุขผ่านการที่รัฐได้กำหนดให้การกระทำที่กระทบต่อการอยู่ร่วมกันของส่วนรวมเป็น ความผิดและต้องถูกลงโทษ กล่าวคือ กฎหมายอาญานั้นจะบัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิด และ กระทำที่เป็นความผิดนั้นจะเป็นเงื่อนไขของการลงโทษ 3 ซึ่งบทลงโทษในทางอาญานั้นเป็นบทลงโทษที่ รุนแรงและมีลักษณะที่มีผลกระทบต่อสิทธิในชีวิตร่างกายของบุคคลมากที่สุดในบรรดากฎหมาย ทั้งหมด กฎหมายอาญาจึงมีภารกิจในการคุ้มครองสังคมโดยการลงโทษในทางอาญานั้นถูกใช้เพื่อ 4 ก. ปราบปรามผู้กระทำความผิด (repressive Funktion) อันเป็นการลงโทษเพื่อแสดงให้ เห็นว่าสังคมไม่ยอมรับการกระทำนั้น เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกต่อผู้กระทำความผิดโดยตรง ข. การป้องกัน (präventive Funktion) คือใช้การลงโทษเพื่อแสดงให้เห็นผลของการ กระทำ ในอันจะส่งผลต่อบุคคลโดยทั่วไปในลักษณะของการเตือนมิให้เอาอย่าง และ ค. ในทางการป้องกันพิเศษ (Spezialprävention) อันเป็นการลงโทษเพื่อมุ่งแก้ไขฟื้นฟู ผู้กระทำความผิดให้กลับคืนเป็นคนดีสู่สังคม อันเป็นการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจากการกระทำ ความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิด อนึ่ง นอกจากความสงบสุขทางสังคมแล้ว สังคมยังต้องการ “การมีสภาวะที่พึงปรารถนา ในทางสังคมที่กฎหมายต้องการจะประกันจากการล่วงละเมิด” กฎหมายอาญาจึงยังมีภารกิจในการ คุ้มครองคุณธรรมทางกฎหมาย (Legal Interest) ของสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมเห็นว่ามีคุณค่าแก่การ ปกป้องคุ้มครอง เช่น ชีวิต ร่างกาย อนามัยและศาสนาของมนุษย์ในลักษณะสิ่งที่เป็นคุณค่าพื้นฐาน 2 ปรีดี เกษมทรัพย์. (2559). นิติปรัชญา. กรุงเทพ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการ สอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. น. 222-223 3 รวมถึงการกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัย และมาตรการบังคับทางอาญาอื่น ๆ 4 คณิต ณ นคร. (2563). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ: วิญญูชน. น. 67-73

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3