แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

127 อยู่ภายใต้หลักการดังกล่าวเช่นกัน โดยสามารถพิจารณาได้จากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 134 ในเรื่องของการแจ้งข้อหา มาตรา 158 (5) ในเรื่องของคำฟ้อง มาตรา 163 มาตรา 164 ในเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง มาตรา 192 ในเรื่องของการพิพากษา และมาตรา 39 (4) เรื่องของการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้จะไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายโดยตรง ตามกฎหมายจะเห็นว่าข้อหาในคำฟ้องส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในลักษณะของการ เป็น “ขอบเขตของสภาพเด็ดขาดทางกฎหมาย” 229 กล่าวคือ หากมีการดำเนินคดีในเรื่องราวของการ กระทำในทางเหตุการณ์เดียวกันและตัวบุคคลคือจำเลยนั้นเป็นคนเดียวกันกับที่ปรากฏในคำฟ้องซึ่ง ศาลได้พิพากษาในเนื้อหาของความผิดแล้ว การดำเนินคดีย่อมเป็นการฟ้องซ้ำ 230 วัตถุแห่งคดีจึงมีภารกิจ 2 อย่าง คือ 1. กำหนดขอบเขตการพิจารณาพิพากษา และ 2. กำหนดขอบเขตสภาพเสร็จเด็ดขาดทางกฎหมายของคำพิพากษานั้น การกำหนดขอบเขตการพิจารณาพิพากษานั้น นอกจากจะเป็นไปในลักษณะที่ว่า ศาลจะ พิจารณาได้เฉพาะข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งที่ถูกฟ้องแล้ว ยังรวมถึง การที่ว่า แม้ว่าข้อเท็จจริงนั้นจะไม่ได้ปรากฏอยู่ในคำฟ้องที่บรรยาย แต่หากเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการ กระทำความผิดครั้งเดียวกันกับที่ได้ฟ้อง ศาลก็มีหน้าที่ที่จะต้องพิจารณาเสมอ 231 การกำหนดขอบเขตของสภาพเด็ดขาดทางกฎหมายจะเกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึง ที่สุด 232 โดยจะทำให้เกิดขอบเขตของสภาวะในทางรูปแบบของคำพิพากษา คือการไม่สามารถอุทธรณ์ คดีไปยังศาลสูงและสามารถบังคับคดีได้ นอกจากนี้ ยังเกิดขอบเขตของสภาวะในทางเนื้อหา คือการ ไม่อาจดำเนินคดีซ้ำได้ โดยหากมีการดำเนินคดีซ้ำ (Double jeopardy) ในเรื่องราวของการกระทำ ครั้งเดียวกันและตัวบุคคลคือจำเลยเป็นคนเดียวกันกับที่ปรากฏในคำฟ้องซึ่งศาลได้พิพากษาเสร็จ เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่อาจทำได้ 233 หรือ กล่าวอีกในหนึ่งได้ว่า แม้ว่าข้อเท็จจริงนั้นจะไม่เคยได้รับการ 229 กรรภิรมย์ โกมลารชุน. วัตถุแห่งคดีในคดีอาญาคืออะไร? What is the object of criminal proceedings? น. 3-4 230 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (4) 231 กรณ์ ศินารักษ์ ณ จำปาศักดิ์. (2552). ระบบการถามค้านกับการค้นหาความจริงใน คดีอาญา วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. น. 108-109 232 เรื่องเดียวกัน. น. 3-4 233 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (4)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3