แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
128 พิจารณา แต่หากเป็นวัตถุแห่งคดีเดียวกันก็ย่อมตกอยู่ในสภาพเด็จขาดทางกฎหมาย ตาม “หลัก บุคคลควรจะไม่เดือดร้อนถึงสองครั้งจากการกระทำเดียว” (ne bis in idem) การพิจารณาพิพากษาในชั้นศาลนั้นจะมีวัตถุแห่งคดีเป็นตัวกำหนดขอบเขต โดยมีคำฟ้องเป็น สิ่งที่ระบุขอบเขตของวัตถุแห่งคดี ส่วนในชั้นเจ้าพนักงานนั้นจะถือหลักอิสระในการสอบสวน ที่เจ้า พนักงานสามารถรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดซึ่งเห็นว่าเกี่ยวข้องได้เสมอโดยไม่จำต้องมีขอบเขต สำหรับการสอบสวนที่แน่นอนตายตัว อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินคดีเรื่องราวของการกระทำความผิด ที่ถูกกล่าวหาในชั้นเจ้าพนักงานก็ยังคงต้องมีความชัดเจนในระดับหนึ่ง เนื่องจากวัตถุแห่งคดีในการ แจ้งข้อหานั้นเกี่ยวพันถึงหลักฟังความทุกฝ่ายซึ่งคงอยู่ตลอดเวลาที่มีการดำเนินคดีอาญา โดยผู้ต้องหา จะต้องสามารถปกป้องสิทธิของตนได้ตั้งแต่ในชั้นเจ้าพนักงาน และการใช้มาตรการบังคับทางอาญาซึ่ง เกี่ยวข้องกับโดยตรงการยกผู้ต้องหาเป็นประธานในคดี วัตถุแห่งคดีในการแจ้งข้อหาและในคำฟ้องทั้งสองสิ่งเป็นสิ่งเดียวกัน เพียงแต่เมื่อเป็นข้อหาซึ่ง เป็นวัตถุแห่งคดีในคำฟ้องจะส่งผลสำคัญในลักษณะของการเป็นกรอบในการพิจารณาพิพากษา ของ ศาล เนื่องจากศาลจะพิจารณาพิพากษาในเรื่องที่มิได้กล่าวในฟ้องไม่ได้ ศาลจึงถูกผูกมัดตามข้อหาใน ฟ้อง ไม่ให้พิจารณาพิพากษานอกเหนือไปจากตัวบุคคล และไม่ให้พิจารณาพิพากษานอกเหนือไปจาก เรื่องราวของการกระทำที่ปรากฏตามข้อหาในฟ้องนั้น 234 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 192 วัตถุแห่งคดีจึงเป็นสิ่งที่เป็นแกนหลัก การดำเนินคดีอาญาในระบบกล่าวหาภาคพื้น ทวีปยุโรป ที่ทำขึ้นในชั้นเจ้าพนักงานแล้วส่งผ่านไปยังชั้นศาล โดยมีพนักงานอัยการเป็นผู้ส่งผ่าน และ ยังเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกระบวนพิจารณาทั้งสองขั้นตอนเข้าไว้ด้วยกัน การบรรยายฟ้องจึงเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี 235 อันเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์หรือ เรื่องราวที่จำเลยก่อขึ้น จากการที่พนักงานอัยการและตำรวจร่วมกันค้นหาความจริงโดยการบรรยาย ฟ้องนั้นต้องบรรยายรายละเอียดและชัดเจนถึงการกระทำที่จำเลยได้กระทำจากข้อมูลของการ สอบสวนที่ยืนยันได้ว่ามีการกระทำเช่นนั้น กล่าวคือ เป็นการบรรยายว่าจำเลยได้กระทำอะไร กระทำ อย่างไร และผิดกฎหมายอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลที่จะทำให้จำเลยสามารถกล่าวแก้ฟ้องได้อย่างถูกต้อง อันเป็นสิ่งสำคัญตามหลักฟังความทุกฝ่าย และต้องการความละเอียดชัดเจนในส่วนของข้อมูลเกี่ยวกับ วัตถุแห่งคดีดังได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น 234 ธานี วรภัทร์. (2558). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. ครั้งที่พิมพ์ 2. กรุงเทพ: วิญญูชน. น. 88 235 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3