แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

129 ในทางกลับกันหากเป็นการบรรยายฟ้องที่เคลือบคลุมไม่ชัดเจน การบรรยายเพียงแค่ให้ครบ องค์ประกอบความผิดอย่างที่มักทำกันในทางปฏิบัติของไทย ไม่มีเวลาหรือสถานที่ที่กระทำความผิด หรือขาดส่วนใดส่วนหนึ่งข้างต้น ก็จะส่งผลให้กลายเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งความบกพร่องเช่นนี้ ศาล สามารถสั่งยกฟ้องคดี ไม่รับฟ้อง หรือสั่งให้แก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้องได้ เพราะมิเช่นนั้นแล้วจะส่งผล กระทบต่อการค้นหาความจริงในการพิจารณาคดีโดยเฉพาะการพิสูจน์ความผิดที่ไม่อาจดำเนินคดีซ้ำ ได้อีก 236 ซึ่งจะเป็นผลให้กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถบรรลุภารกิจในการคุ้มครองสังคมซึ่งเป็น เป้าหมายสุดท้ายได้ 237 นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 กลับผิดเพี้ยนจากหลักการโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 ซึ่ง เป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย ได้วางหลักไว้ว่า มาตรา 192 ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ ศาลยกฟ้องคดีนั้น ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณา ไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ใน ตัวเอง ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการดำเนินคดีอาญาโดยอาศัยคำฟ้องของระบบซีวิลลอว์ตามที่ไดกล่าว มาแล้วในข้างต้น จนต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2499 โดยเพิ่มเติมถ้อยคำที่ว่า เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้ และแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2522 มีการ เพิ่มวรรคสอง ความว่า “ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลา หรือ 236 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) 237 สมศักดิ์ สุขวัฒน์. (2556). การบรรยายฟ้องในคดีอาญา: ศึกษาปัญหาฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตามแนวคำพิพากษาของศาลไทย. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. น. 1-2

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3