แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

130 สถานที่กระทำความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก และ รับของโจร หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อ สาระสำคัญ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้” ลงไป อีกทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ยัง ยกเลิกความในมาตรา 192 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่ กระทำ ความผิด หรือต่างกันระหว่างกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทำให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาท มิ ให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็น เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลง ต่อสู้ แต่ทั้งนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้อง ไม่ได้” การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ทั้งหมดล้วนสะท้อน ให้เห็นถึงความไม่เข้าใจที่มีต่อการดำเนินคดีอาญาโดยอาศัยคำฟ้องของระบบซีวิลลอว์ที่หากอยู่ใน ขอบเขตของวัตถุแห่งคดีเดียวกัน ศาลก็สามารถลงโทษในฐานความผิดที่พิจารณาได้อยู่แล้ว แต่เป็น การแก้กฎหมายเป็นไปในลักษณะของการดำเนินคดีในระบบคอมมอล์ลอว์โดยเป็นการแก้ไขให้ สอดคล้องกับทางปฏิบัติและการทำคำพิพากษาของศาล 238 ที่ศาลจะลงโทษได้ในฐานความผิดตามที่ ฟ้องเท่านั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้ เช่น ฟ้องในความผิดฐานลักทรัพย์แต่ในทางพิจารณา พบว่าฐานรับของโจรก็ลงโทษฐานรับของโจรได้ เป็นต้น 238 สุเนติ คงเทพ. (2557). หลักการทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติ กฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 192. กรุงเทพ: นิติธรรม. น. 88-100

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3