แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
4 ค. เพื่อการคุ้มครองคุณธรรมทางกฎหมาย (Legal interest) ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นว่ามีคุณค่าที่ กฎหมายมุ่งปกป้องคุ้มครอง เช่น ชีวิตมนุษย์ ร่างกาย อนามัย ศาสนา และความสงบสุขทางสังคม ใน ลักษณะของการคุ้มครองสิ่งอันเป็นคุณค่าพื้นฐานและคุ้มครองคุณภาพของการกระทำของมนุษย์ 2. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นกฎหมายที่ระบุขั้นตอน วิธีการ และอำนาจของบุคคล หรือองค์กรในการค้นหาความจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดและนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษตาม กฎหมายอาญา การบัญญัติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นการกำหนดวิธีการทางกฎหมายซึ่งมี ขึ้นเพื่อให้สังคมได้รับประโยชน์จากกฎหมายอาญาอย่างเต็มที่ 9 กล่าวคือ กฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญาหรือกฎหมายอาญาวิธีสบัญญัติ เป็นกฎหมายมหาชนที่บัญญัติ “หลักเกณฑ์และวิธีการค้นหา ความจริงอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดและการนำตัวผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายอาญามา ดำเนินการพิจารณาและลงโทษตามบทบัญญัติของกฎหมาย” 10 โดยเป็นการกำหนดอำนาจในการ บังคับใช้กฎหมายอาญาสารบัญญัติไว้อย่างชัดเจน ผ่านการบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการที่ชอบด้วย กระบวนความในการค้นหาความจริงแท้ของเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของการกระทำความผิดตาม กฎหมายอาญาตามที่ถูกฟ้องร้อง เพื่อการชี้ขาดเรื่องที่กล่าวหา 11 โดยจะเห็นว่า หากมีการกำหนดให้ การกระทำใดเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาและกำหนดโทษไว้ ก็จะต้องใช้กฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาที่บัญญัติถึงหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะใช้ในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ถูก กล่าวหาด้วยการค้นหาความจริง เช่น วิธีการและหลักเกณฑ์ของการสืบสวน การสอบสวน วิธีการ ดำเนินคดีในศาล ในการจะทราบข้อเท็จจริงเพื่อปรับกับข้อกฎหมายตัดสินคดี เป็นต้น เนื่องจากการดำเนินกระบวนพิจารณาจะต้องดำเนินผ่านกระบวนการทำงานขององค์กรใน กระบวนการยุติธรรมทางอาญา คือ ตำรวจ อัยการ ศาล และราชทัณฑ์ ตั้งแต่การสืบสวนสอบสวน จนถึงการปล่อยตัวหลังจากการบังคับโทษ ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร ได้ให้คำนิยามคำว่า “กระบวนพิจารณา” (Procedural act) ไว้ว่าคือ “การกระทำใด ๆ อันเกี่ยวด้วยคดีของผู้ที่เกี่ยวข้อง ในคดี” โดยมีหลักนิติรัฐที่ทำให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นเป็นหลักประกันที่ จะไม่ทำให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจของตัวบุคคล แต่จะเป็นการใช้อำนาจรัฐของตัวกฎหมายอัน 9 อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ. (2552). ทฤษฎีอาญา. กรุงเทพ: วิญญูชน. น. 109-111 10 ณรงค์ ใจหาญ. (2565). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 14 กรุงเทพ: วิญญูชน. น. 15 11 คณิต ณ นคร. (2564). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพ: วิญญู ชน. น. 71-72
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3