แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

5 เป็นภววิสัย การตัดสินใจขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมจึงต้องสามารถอ้างอิงจากตัวบทกฎหมาย เป็นหลัก ส่วนการใช้ดุลพินิจนั้นต้องเป็นเพียงข้อยกเว้นของการดำเนินกระบวนพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาจะเริ่มขึ้นตั้งแต่มีการรู้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่เจ้าพนักงาน ตำรวจรู้ด้วยตนเอง หรือรู้โดยผู้อื่นแจ้ง เช่น การร้องทุกข์ การกล่าวโทษ เป็นต้น ตำรวจจึงเป็น หน่วยงานแรกที่มีหน้าที่เมื่อมีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น 12 ซึ่งหากเป็นฐานความผิดที่เป็น ความผิดอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการต่อได้ แต่หากเป็นความผิดต่อส่วนตัว จะต้องมีการร้องทุกข์จากผู้เสียหายโดยชอบเสียก่อน 13 จากนั้น เมื่อมีข้อสงสัยด้วยเหตุอันสมควรว่าได้ มีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น เจ้าพนักงานจะทำการสืบสวนสอบสวนโดยเริ่มต้นจากพื้นฐานของ ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เจ้าพนักงานสามารถรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัว ผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา และสืบความเป็นมาแห่งชีวิต และความประพฤติอันเป็นอาจิณของผู้ต้องหา ในการสืบหาประวัติผู้ต้องหา 14 การค้นหาความจริงจึง ไม่ใช้ลักษณะของคู่ปรปักษ์กับผู้ต้องหาในคดี ระหว่างนี้อาจใช้มาตรการบังคับทางอาญาเป็นเครื่องมือ ในการแสวงหาพยานหลักฐาน เช่น การค้น การจับกุม เมื่อเห็นว่าคดีมีมูลจึงเรียกผู้ต้องหาเข้ามาเพื่อ เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาได้แสดงพยานหลักฐานของตน ในขั้นตอนของการสืบสวนสอบสวนจึงเป็น ขั้นตอนของการค้นหาความจริงว่าความจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างไร (Search of truth) จากนั้นจึงทำ สำนวนพร้อมความเห็นส่งไปยังพนักงานอัยการ ซึ่งพนักงานอัยการจะมีอำนาจตรวจสำนวนและมี อำนาจสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม อันเป็นการตรวจสอบความจริงของเรื่องที่กล่าวหา (Examination) และนำไปสู่การยืนยันข้อกล่าวหาคือการสั่งคดีของพนักงานอัยการอันเป็นการชี้ขาดในเรื่องที่ได้ กล่าวหานั้น การดำเนินการพนักงานอัยการจึงต้องเป็นดังผู้ตรวจสอบ ไม่ใช้คู่ปรปักษ์กับผู้ต้องหาในคดี การสั่งคดีหากเป็นการสั่งฟ้อง ก็จะนำไปสู่การพิจารณาคดีในศาลจะเป็นการค้นหาความจริง อีกครั้งผ่านการสืบพยานซึ่งศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งเพื่อค้นหาความจริง ส่วนพนักงานอัยการ จะมี หน้าที่เป็นโจทก์ในทางแบบพิธีที่จะค้นหาความจริงของเรื่องที่กล่าวหาให้ปรากฏแก่การพิจารณาคดี โดยอาศัยข้อมูลจากการสืบสวนสอบสวนในชั้นเจ้าพนักงาน และขณะเดียวกันจำเลยก็มีสิทธิที่จะ นำเสนอข้อเท็จจริงในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบค้นหาความจริงของการพิจารณา และการ ตัดสินคดี และกำหนดโทษโดยการทำคำพิพากษาอันเป็นการชี้ขาดคดีจะเป็นการตรวจสอบความจริง อีกครั้ง โดยที่คู่ความอาจมีการอุทธรณ์และฎีกาคำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจนคดีถึง 12 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130 13 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 14 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 138

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3