แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

184 เงื่อนไขตามที่ศาลได้กำหนดโทษนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำขอของผู้กระทำ ความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น พนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานว่า พฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การควบคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดเปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาล เห็นสมควร ศาลอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดเสียก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขข้อใด ตามที่กล่าวในวรรคก่อนที่ศาลยังมิได้กำหนดไว้เพิ่มเติมขึ้นอีกก็ได้ บทบัญญัติในมาตรา 56 นี้เรื่องการ รอการกำหนดโทษและรอการลงโทษเป็นวิธีการที่หลีกเลี่ยงโทษจำคุกระยะสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับที่ปรากฏมาตรการหลีกเลี่ยงโทษจำคุกในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ “การรอการ กำหนดโทษ” และ “การรอการลงโทษ” ถือเป็นเครื่องเตือนสติให้ผู้กระทำความผิดต้องระมัดระวังตัว ไม่กระทำความผิดขึ้นอีก และการที่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำ ความผิดด้วยนั้น ก็เพื่อจะเป็นการช่วยเหลือผู้กระทำความผิดในการดำเนินชีวิตในระหว่างระยะเวลา ของ “การรอการกำหนดโทษ” หรือ“การรอการลงโทษ” และในขณะเดียวกันนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงผลร้ายจากโทษจำคุก 15.3 การกักขัง (Confinement) บททั่วไปโทษกักขังเป็นโทษที่เกี่ยวกับเสรีภาพของผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกับโทษจำคุก แต่เป็นโทษที่เบากว่า เพราะไม่ได้ถูกกักขังในเรือนจำและผู้ต้องโทษกักขังมีสิทธิต่าง ๆ มากกว่าผู้ ต้องโทษจำคุก การบังคับใช้โทษกักขังในปัจจุบันแม้กฎหมายประสงค์ให้โทษกักขังเป็นโทษที่เบากว่า โทษจำคุก เมื่อพิจารณาโทษกักขัง จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่ระวางโทษที่ระบุไว้ในแต่ละฐานความผิด แต่เป็น เพียงโทษที่กฎหมายมีเจตจำนงที่จะใช้แทนการจำคุกระยะสั้น ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดในประมวล กฎหมายอาญาที่กำหนดโทษกักขังแก่ผู้กระทำความผิดสำหรับการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง โดยเฉพาะ มีแต่เพียงที่บัญญัติความผิดบางมาตราที่ให้เปลี่ยนโทษอย่างอื่นมาเป็นโทษกักขัง หรือใช้ (8) ให้แก้ไขฟื้นฟูหรือเยียวยาความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม หรือ ชดใช้ค่าเสียหายเพื่อการดังกล่าว (9) ให้ทำทัณฑ์บนโดยกำหนดจำนวนเงินตามที่ศาลเห็นสมควรว่าจะไม่ก่อเหตุร้าย หรือก่อให้เกิด ภยันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สิน (10) เงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดเพื่อแก้ไข ฟื้นฟู หรือป้องกันมิให้ผู้กระทำ ความผิดกระทำหรือมีโอกาสกระทำความผิดขึ้นอีก หรือเงื่อนไขในการเยียวยาผู้เสียหายตามที่เห็นสมควร เงื่อนไขตามที่ศาลได้กำหนดตามความในวรรคสองนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคำขอ ของผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น พนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานว่า พฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การควบคุมความประพฤติของผู้กระทำความผิดได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจ แก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดเสียก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขข้อใดตามที่กล่าวในวรรคสองที่ศาลยังมิได้ กำหนดไว้เพิ่มเติมขึ้นอีกก็ได้ หรือถ้ามีการกระทำผิดทัณฑ์บนให้นำบทบัญญัติมาตรา 47 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3