แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
187 หรือที่เรียกว่า “Day-fine 318 ซึ่งแนวคิดนี้ได้ปรากฎในประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 ทำให้มีการแก้ไขบทบัญญัติเรื่องโทษปรับสำหรับ ความผิดทั่วไปในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา แทบจะทั้งหมด ซึ่งเป็นโฉมใหม่ของโทษปรับใน ประมวลกฎหมายอาญา 319 1) ลักษณะของโทษปรับและการลงโทษปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 28 320 จะ เห็นได้ว่าโทษปรับเป็นจำนวนเงินตามที่กฎหมายกำหนดในฐานความผิดต่าง ๆ ที่มีโทษปรับอย่างเดียว หรือมีโทษปรับด้วยนั้น กฎหมายจะกำหนดโทษปรับขั้นสูงไว้ หรือในบางกรณีก็กำหนดจำนวนขั้นต่ำ ของโทษปรับไว้ก็มี ในกรณีที่มีการปรับเรียงตัวบุคคลก็จะต้องสอดคล้องกับหลักการที่ว่า “การลงโทษ จะต้องเหมาะสมกับตัวผู้กระทำความผิดเป็นคน ๆ ไป” 321 ในการกำหนดโทษและการพิจารณาความ หนักเบาของการลงโทษ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ไขดัดแปลงผู้กระผิด ไม่ใช่ความ หนักเบาของการกระทำผิด ดังนั้น จึงต้องลงโทษให้เหมาะสมกับตัวบุคคลผู้กระทำผิดว่าเขาควรได้รับ การแก้ไขอย่างไร 2) การบังคับโทษปรับ กำหนดระยะเวลาชำระค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 322 การชำระค่าปรับจะต้องกระทำภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด มิฉะนั้นจะถูก ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ หรือถูกกักขังแทนค่าปรับ ส่วนการ 318 กฤตยา อารีรักษ์,ความเหมาะสมในการนำ day fine มาใช้กับประเทศไทย,สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565, จาก : http://www.rajaparkjournal.com/pisert/SPE1007-CF007-%E0. 319 ธนกฤต วรธนัชชากุล,โฉมใหม่ของโทษปรับในประมวลกฎหมายอาญา, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565, จาก : https://www.thaipublica.org/2017/05/thanakrit-vorathanatchakul- 27-5-2560. 320 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 28 “ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล” 321 หยุด แสงอุทัย. (2566). กฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. น. 192 322 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29 “ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบ วันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ ค่าปรับหรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่งให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้ ความในวรรคสองของมาตรา 24 มิให้นำมาใช้บังคับแก่การกักขังแทนค่าปรับ”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3