แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

189 ดังนั้นโทษปรับจึงสมควรที่จะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพความผิด โดยกำหนดมาตรการให้ผู้ ต้องโทษปรับการทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับได้อีกแนวทางหนึ่ง สถานการณ์โทษปรับ จากการแก้ไขอัตราโทษปรับสำหรับความผิดทั่วไปในภาค 2 ของ ประมวลกฎหมายอาญาให้มีความสอดคล้องกับการแก้ไขอัตราโทษปรับสำหรับความผิดลหุโทษในภาค 3 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งได้มีการแก้ไขอัตราโทษปรับเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าและมีผลบังคับใช้ไป แล้วตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 โดยการแก้ไขอัตราโทษปรับสำหรับความผิดทั่วไปในภาค 2 กำหนดเพิ่มการอายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 99 เนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29 ของประมวลกฎหมายอาญา โดยพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2559 จากเดิมที่การบังคับโทษปรับในกรณีผู้ ต้องโทษไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินการโดยการยึดทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ นั้น ได้เพิ่มเติมวิธีการบังคับโทษปรับโดยการอายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับด้วย และ โดยที่การบังคับโทษปรับตามมาตรา 29 จะต้องกระทำภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 99 คือ ภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่เนื่องจากมาตรา 99 กำหนดเฉพาะการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับเท่านั้นไม่ได้กำหนดกรณีการอายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับด้วย จึง จำเป็นต้องมีการแก้ไขถ้อยคำในมาตรา 99 โดยเพิ่มกรณีการอายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ ค่าปรับด้วย เพื่อให้สอดรับกับมาตรา 29 โดยเพิ่มถ้อยคำ “อายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สิน” เข้าไปใน วรรคหนึ่งของมาตรา 99 เป็น “การยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ ทำงาน และจำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงเพศ อายุ ประวัติ การนับถือ ศาสนา ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อม หรือสภาพความผิดของผู้ต้องโทษปรับประกอบด้วย และศาลจะกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ ต้องโทษปรับปฏิบัติเพื่อแก้ไขฟื้นฟูหรือป้องกันมิให้ผู้นั้นกระทำความผิดขึ้นอีกก็ได้” ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับการทำงานบริการสังคมหรือทำงาน สาธารณประโยชน์ของผู้ต้องโทษปรับได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่กำหนดไว้ นั้นก็ได้ตามที่เห็นสมควร ในการกำหนดระยะเวลาทำงานแทนค่าปรับตามวรรคสาม ให้นำบทบัญญัติมาตรา 30 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม และในกรณีที่ศาลมิได้กำหนดให้ผู้ต้องโทษปรับทำงานติดต่อกันไป การทำงาน ดังกล่าวต้องอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาสองปีนับแต่วันเริ่มทำงานตามที่ศาลกำหนด เพื่อประโยชน์ในการกำหนดจำนวนชั่วโมงทำงานตามวรรคสาม ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจ ออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมกำหนดจำนวนชั่วโมงที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวัน สำหรับงานบริการสังคมหรืองานสาธารณประโยชน์แต่ละประเภทได้ตามที่เห็นสมควร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3