แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
191 ความผิดอันทำให้ผู้กระทำความผิดประสบความเสียหายทางเศรษฐกิจและสูญเสียประโยชน์ที่ตนคาด ว่าจะได้เป็นของตนโดยการกระทำความผิดนั้นไป ดังนั้น วัตถุประสงค์ของโทษริบทรัพย์เพื่อเป็นการ แก้แค้น (Retribution) อันเป็นแรงกระตุ้นเตือนผู้กระทำความผิดโดยผ่านเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม กฎหมายเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดขึ้นอีกและเป็นการกระตุ้นเตือนบุคคลอื่น ๆ ไม่ให้ทำตาม เพื่อเป็น มาตรการป้องปรามไม่ให้กระทำผิดอีกช่องทางหนึ่งด้วย และยังเพื่อเป็นการยับยั้งการกระทำผิด (Deterrent) ผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษด้วยการริบทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดอันเป็นการจำกัด สิทธิในทรัพย์สิน รูปแบบการบังคับโทษริบทรัพย์ รูปแบบเกี่ยวกับการริบทรัพย์สินในปัจจุบันมี 3 แนวทาง คือ มาตรการริบทรัพย์ทางการบริหาร (Administrative Forfeiture) หรือการริบทรัพย์ที่เป็นมาตรการพิเศษ เป็นมาตรการป้องกันการโยกย้ายจำหน่ายจ่ายโอนหรือนำพาทรัพย์สินนั้นไปหลบซ่อนเสียก่อนจึง กำหนดให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารมีอำนาจยึดทรัพย์สินที่อาจริบได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่คดีจะ เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณา เหตุผลของการใช้มาตรการริบทรัพย์โดยฝ่ายบริหารก็เนื่องจากต้องการให้มี มาตรการชั่วคราวที่สะดวกรวดเร็วกว่าการใช้กระบวนการริบทรัพย์โดยศาล ส่วนการริบทรัพย์ทางอาญา เป็นกระบวนการริบทรัพย์ที่ยึดการกระทำต่อตัวบุคคล (In personal proceeding) เป็นหลักจึง จำเป็นต้องยึดถือคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ แม้ว่าทางการสืบสวนสอบสวนจะ ทราบว่าบุคคลนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดแต่ก็ไม่อาจที่จะดำเนินการริบทรัพย์สินของบุคคล นั้นได้ในกระบวนการริบทรัพย์ทางอาญาซึ่งโจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็น ผู้กระทำความผิดจริง เช่น ในคดียาเสพติดซึ่งเป็นคดีอาญาประเภทหนึ่งเมื่อยื่นฟ้องบุคคลหากมี ทรัพย์สินใดที่สมควรจะริบพนักงานอัยการก็จะระบุไว้ในคำฟ้องด้วยเพื่อขอให้ศาลสั่งริบเนื่องจากการ ริบทรัพย์สินกรณีนี้เป็นมาตรการทางอาญาและเป็นการดำเนินการต่อตัวบุคคล ดังนั้น ในคดีอาญาถือ กันว่าตัวทรัพย์สินนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมายการริบทรัพย์จึงมีผลให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของรัฐตั้งแต่ได้ กระทำความผิด การโอนต่อ ๆ มาจึงไม่มีผลผู้รับโอนจะอ้างว่าตนได้มาโดยสุจริตไม่ได้ และส่วนการริบ ทรัพย์สินทางแพ่ง (Civil forfeiture) เป็นกระบวนการริบทรัพย์สินที่กระทำต่อตัวทรัพย์ (In rem proceeding) ที่มิชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องพิจารณาโทษถือได้ว่าการริบทรัพย์สินนั้นเป็นการ ดำเนินการทางแพ่งเฉพาะต่อทรัพย์สินและมีผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น แต่ไม่ใช่ว่า ทรัพย์สินทุกชนิดที่จะริบได้โดยกระบวนการริบทางแพ่ง กฎหมายจะบัญญัติให้ใช้กระบวนการริบทาง แพ่งได้ในบางกรณีและกับทรัพย์สินบางชนิดเท่านั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3