แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

195 16.1 การกักกัน การกักกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 40 336 คือ การเอาตัวไปควบคุมไว้ในเขตที่ กฎหมายกำหนดอันเป็นการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดที่ติดนิสัย กฎหมายอาญาใน ปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับผู้กระทำผิดที่มีอายุน้อยอย่างมากเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้จากการมีวิธี พิจารณาความเป็นพิเศษสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งมาตรการนี้จะทำให้บุคคลที่เคยกระทำความผิด มาแล้วไม่กล้าที่จะกระทำผิดซ้ำอีกเพราะเกรงกลัวว่าจะต้องถูกกักกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าปรากฏว่าหาก ผู้กระทำผิดติดนิสัย กระทำผิดซ้ำอีกได้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งอีกภายใน 10 ปี ศาลอาจถือ ว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย บุคคลนั้นอาจถูกกักกันได้ การพิจารณา “ผู้กระทำความผิดติดนิสัย” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 41 337 กฎหมายได้วางกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขการพิจารณา ไว้ 3 ประการ 336 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 40 “กักกัน คือการควบคุมผู้กระทำความผิดติดนิสัยไว้ ภายในเขตกำหนด เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ” 337 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 “ผู้ใดเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกันมาแล้ว หรือเคยถูก ศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้งในความผิดดังต่อไปนี้ คือ (1) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 209 ถึงมาตรา 216 (2) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 217 ถึง มาตรา 224 (3) ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 240 ถึงมาตรา 246 (4) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ถึงมาตรา 286 (5) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288 ถึงมาตรา 290 มาตรา 292 ถึงมาตรา 294 6) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 ถึงมาตรา 299 (7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 ถึงมาตรา 320 8) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 340 มาตรา 354 และ มาตรา 357 ภายในเวลาสิบปีนับแต่วันที่ผู้นั้นได้พ้นจากการกักกัน หรือพ้นโทษ แล้วแต่กรณี ผู้นั้นได้กระทำ ความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดในบรรดาที่ระบุไว้นั้นอีกจนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือน สำหรับการกระทำความผิดนั้น ศาลอาจถือว่า ผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย และจะพิพากษาให้ กักกันมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามปีและไม่เกินสิบปีก็ได้ ความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มี อายุต่ำกว่าสิบแปดปีนั้น มิให้ถือเป็นความผิดที่จะนำมาพิจารณากักกันตามมาตรานี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3