แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
196 (1) การเคยเป็นผู้ถูกศาลพิพากษาให้กักกันมาแล้ว หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก ไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้งในความผิดดังกล่าว (2) เป็นผู้ได้กระทำความผิดในความผิดดังกล่าวอักภายใน 10 ปี นับแต่วันพ้นจากการกักกัน หรือพ้นโทษ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน (3) ความผิดที่ผู้กระทำได้กระทำในขณะที่อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ไม่นำมาพิจารณา ส่วนการ ฟ้องขอให้กักกันเป็นอำนาจของพนักงานอัยการตามมาตรา 43 338 ประเด็นที่จะต้องพิจารณา วิธีการ เพื่อความปลอดภัย เป็นมาตรการบังคับที่ส่วนเสริมจากโทษ ดังนั้นกรณีการกักกัน อย่างเดียว กฎหมายถือว่าวันที่ศาลพิพากษาเป็นเริ่มการกักกัน แต่ในกรณีที่มีโทษที่ต้องรับอยู่ด้วยนั้น การกักกัน ต้องกระทำภายหลังรับโทษแล้วและกฎหมายให้นับวันถัดจากวันที่พ้นโทษเป็นวันเริ่มการกักกันตา มาตรา 42 339 16.2 การห้ามเข้าเขตกำหนด ศาลพิพากษาให้ลงโทษแล้ว ศาลเห็นสมควรว่า ผู้กระทำความผิดมีพฤติกรรมโน้มเอียงในการ กระทำผิดในบางพื้นที่ ศาลอาจสั่งห้ามเข้าเขตที่กำหนดหลังพ้นโทษแล้วได้ ซึ่งมาตรการนี้เป็นการ ป้องกันให้บุคคลนั้นไม่ให้เข้าไปกระทำผิดในเขตนั้น ๆ อีก ตามมาตรา 44 340 ประเด็นที่จะต้อง พิจารณาคือ การใช้มาตรการห้ามเข้าเขตกำหนด เป็นเรื่องที่ศาลเห็นเองโดยพลการได้โดยไม่ จำเป็นต้องมีผู้ใดมีคำขอ ตามมาตรา 45 341 338 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 43 “การฟ้องขอให้กักกันเป็นอำนาจของพนักงานอัยการ โดยเฉพาะ และจะขอรวมกันไปในฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกันหรือจะฟ้อง ภายหลังก็ได้” 339 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 42 “ในการคำนวณระยะเวลากักกัน ให้นับวันที่ศาล พิพากษาเป็นวันเริ่มกักกัน แต่ถ้ายังมีโทษจำคุกหรือกักขังที่ผู้ต้องกักกันนั้นจะต้องรับอยู่ก็ให้จำคุกหรือ กักขังเสียก่อน และให้นับวันถัดจากวันที่พ้นโทษจำคุกหรือพ้นจากกักขังเป็นวันเริ่มกักกัน ระยะเวลากักกัน และการปล่อยตัวผู้ถูกกักกัน ให้นำบทบัญญัติมาตรา 21 มาใช้บังคับโดย อนุโลม” 340 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 44 “ห้ามเข้าเขตกำหนด คือการห้ามมิให้เข้าไปในท้องที่ หรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา” 341 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 45 “เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษผู้ใด และศาลเห็นสมควร เพื่อความปลอดภัยของประชาชนไม่ว่าจะมีคำขอหรือไม่ ศาลอาจสั่งในคำพิพากษาว่าเมื่อผู้นั้นพ้นโทษ ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามมิให้ผู้นั้นเข้าเขตกำหนดเป็นเวลาไม่เกินห้าปี”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3