แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
10 บทที่ 1 พัฒนาการของการดำเนินคดีอาญา ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีอารมณ์โกรธซึ่งเป็นแรงผลักดันอย่างหนึ่งที่ทำให้แสดง พฤติกรรมทางลบต่อผู้อื่นและตามมาด้วยความต้องการในการแก้แค้นส่วนตัว 17 หากไม่ตกอยู่ภายใต้ กฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดทางศีลธรรมใด ๆ โดยสัญชาตญาณดิบแล้วมนุษย์มักจะลงเอยด้วยการใช้ กำลังทางกายภาพโดยตรงกับบุคคลผู้ทำให้รู้สึกโกรธแค้น เพราะความแค้นนั้นมีความต้องการในการ ลงโทษผู้กระทำให้เกิดความโกรธแอบแฝงอยู่ด้วย โดยผู้ที่รู้สึกโกรธแค้นจะเกิดความสุขความสะใจเมื่อ ได้เห็นผู้ที่ทำให้ตนรู้สึกโกรธแค้นได้รับผลร้าย และรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ยุติธรรมหรือเป็นสิ่งที่สมควรเกิดขึ้น ในทางกลับกันหากผู้กระทำผิดไม่ได้รับโทษตามสมควรก็จะไม่รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ยุติธรรม การแก้แค้นจึง เชื่อมโยงกับความรู้สึกได้รับความยุติธรรม 18 อย่างไรก็ตาม การแก้แค้นมักนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งที่บานปลาย เนื่องจากมนุษย์อยู่ รวมกันเป็นสังคม มีพี่น้อง มีญาติ มีเพื่อนและพวกพ้อง จากความโกรธแค้นซึ่งเคยเป็นเรื่องส่วนตัวก็ อาจจะกลายเป็นเรื่องของความแค้นความเกลียดชังทางสายเลือด สงครามที่เกิดจากความเกลียดชัง ต่อเผ่าพันธุ์ของฝั่งตรงข้าม กระทั่งสงครามระหว่างอาณาจักร การแก้แค้นส่วนตัวจึงจำเป็นต้องถูก ควบคุมเพื่อความผาสุกของส่วนรวม ซึ่งแนวคิดในการควบคุมการแก้แค้นกันเองเช่นนี้ถือเป็น จุดเริ่มต้นของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 19 กล่าวคือ เพื่อหลีกเลี่ยงการแก้แค้นส่วนตัว ผู้มีอำนาจ ในสังคมจึงต้องหาวิธีการในการพิสูจน์ความจริง (เนื่องจากผู้ใช้อำนาจในการตัดสินและลงโทษซึ่งไม่ใช่ คู่กรณีย่อมไม่ได้ทราบความจริงเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ต่างจากกรณีผู้ถูกกระทำเป็นผู้แก้แค้นด้วย ตนเอง) เพื่อตัดสินว่าผู้ถูกกล่าวหานั้นมีความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ จึงมีการกำหนดวิธีพิจารณาคดีเพื่อ 17 David Chester. What Really Feels Better, Forgiveness or Revenge? https://www.psychologytoday.com/intl/blog/social-instincts/202203/what-really-feels- better-forgiveness-or-revenge. ค้นเ มื่อ 25/7/2566 18 Francis Bacon. THE ESSAYS OR COUNSELS CIVIL AND MORAL Of Revenge. https://www.gutenberg.org/files/575/575-h/575-h.htm#link2H_4_0004 ค้นเ มื่อ 25/7/2566 19 Raymond K. Berg. Criminal Procedure: France, England, and the United States. DePaul Law Review , Volume 8 Issue 2 Spring-Summer 1959 Article 5. p. 257
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3