แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

12 กฎหมายมีการลงโทษผู้ถึงมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเพื่อเป็นการแก้แค้น ผู้กระทำความผิดอยู่ด้วย บุคคลใดทำให้บ้านพังลงมาทับบุคคลหนึ่งที่แก่ความตาย บุคคลนั้นต้องถึงแก่ความตาย เช่นกัน เจ้าหนี้ที่ทำให้บุตรของผู้ที่นำบุตรมาขัดดอกถึงแก่ความตาย บุตรของเจ้าหนี้นั้นต้องถึงแก่ ความตายเช่นกัน นอกจากนี้ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ จะมีโทษถึง ตัดอวัยวะหรือประหารชีวิต บุตรที่ทำร้ายร่างกายบิดาจะถูกตัดมือทิ้ง ส่วนความผิดอื่น ๆ ที่เป็น ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จะลงโทษด้วยการปรับ ผู้ที่ฆ่าผู้อื่นตายโดยไม่เจตนาจะถูกลงโทษโดยการปรับ ตามชั้นวรรณะของผู้ตาย 24 ตัวอย่างพัฒนาการ กษัตริย์ของชาวคาโรไลเนียน (Carolingian kings) 25 ได้มีการวางหลักกฎหมายให้ผู้กระทำผิด ถือว่ากระทำความผิดต่ออำนาจของกษัตริย์ 26 และได้มีการบัญญัติ “กฎของบุคคลถูกจับได้” ซึ่งเป็น กฎที่ทำให้ผู้ที่กระทำผิดทางอาญาอาจถูกประหารชีวิตโดยผู้ที่จับเขาได้ (แม้จะไม่ใช่ผู้เสียหาย) จนเกิด ปรากฏการณ์ที่บุคคลผู้ถืออำนาจรัฐเริ่มจับคนที่ไม่เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ต้องหา และคนที่ถูกสงสัยว่า จะเป็นผู้กระทำความผิดมาประหารชีวิต กษัตริย์ของชาวคาโรไลเนียนจึงต้องก่อตั้งระบบการ สอบปากคำเพื่อค้นหาอาชญากร และพัฒนาการค้นหาความจริงไปเป็น “การสอบปากคำคนใน ชุมชน” แทนที่ “กฎของบุคคลถูกจับได้” มีผลให้เกิดการกล่าวหาบุคคลหรือการกล่าวโทษโดย ประชาชนของชุมชนซึ่งนำมาสู่การไต่สวน อย่างไรก็ตาม การตั้งข้อกล่าวหาในยุคนี้ยังเป็นการฟ้องร้อง ผู้ต้องหาโดยที่ผู้ต้องหายังคงต้องล้างผิดให้กับตัวเอง 27 24 สุเมธ จานประดับ และคณะ. (2550). ประวัติศาสตร์กฎหมายและระบบกฎหมายหลัก LW103. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 110. 25 (ค.ศ. 800–888) เป็นจักรวรรดิที่ปกครองโดยชาวแฟรงก์ในยุโรปตะวันตกและยุโรปกลาง ในช่วงยุคกลางตอนต้น จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Carolingian_Empire 26 เป็นลักษณะเริ่มต้นของหลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ (โปรดศึกษาเพิ่มเติมในบทที่ 2 หัวข้อ 2.2.1 แนวคิดการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ) 27 Raymond K. Berg. Criminal Procedure: France, England, and the United States. p.260.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3