แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
16 การประท้วงต่อต้านความโหดร้ายของวิธีการค้นหาความจริงด้วยการทรมานจึงเกิดขึ้นไม่นาน หลังจากการตรากฎหมาย ขณะที่กระบวนการยุติธรรมของอังกฤษนั้นเกิดขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ มีแนวความคิดทางกฎหมายและปรัชญาของการค้นหาความจริงใน "ระบบที่มีเหตุผล" ดังนั้น ภายหลัง จากการปฏิวัติฝรั่งเศสได้มีการนำเอาแนวคิดของการดำเนินคดีอาญาในระบบการค้นหาความจริงแบบ ของ Common Law 34 มาใช้ในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นระบบในการค้นหาความจริงด้วยการต่อสู้ในรูปแบบ ของการเป็นปรปักษ์มาบังคับใช้ แต่ด้วยความแตกต่างกันค่อนข้างมากของระบบ เช่น ในฝรั่งเศสการ สอบสวนเบื้องต้นเป็นส่วนหลักของการพิจารณาคดี ส่วนอังกฤษนั้นไม่มีการใช้ และฝรั่งเศสนั้นมี กฎเกณฑ์เฉพาะด้านกฎหมายลักษณะพยานหลักฐานส่วนฝรั่งเศสน้อยมาก เมื่อเทียบกับอังกฤษ อีกทั้ง การเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าวส่งผลให้ต้องเปลี่ยนแปลงสถาบันและองค์กรในกระบวนการยุติธรรมที่ มีอยู่เดิมอย่างมาก และไม่มีความเหมาะสมกับบริบททางสังคมของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่อยู่ภายใต้ ระบบไต่สวนมาอย่างยาวนาน เช่น หลังจากหลายศตวรรษของวิธีการเชิงตรรกะและเหตุผลในการ ตรวจสอบค้นหาความจริง การพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุนกลายเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา รับไม่ได้ ทำ ให้ “แนวคิดทางปรัชญาของการค้นหาความจริง ” ของฝรั่งเศสถูกทำลาย บ่อยครั้งที่คณะลูกขุนเกิด ความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ต้องหา ถูกข่มขู่ และติดสินบน จนนำมาซึ่งความผิดพลาดของกระบวนการ หรือ “การสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นจุดแข็งของกระบวนการยุติธรรมของ ฝรั่งเศสได้ถูกเปลี่ยนแปลง จนส่งผลทำให้การดำเนินคดีต่าง ๆ ทำได้ไม่ดี และทำให้คดีถูกฟ้องร้องไป โดยไม่มีคุณภาพ ซึ่งมีผลให้อาชญากรจำนวนมากรอดพ้นจากการถูกลงโทษ จนประชาชนต้องกังวล” จนเป็นที่พิสูจน์ในเชิงประจักษ์แล้วว่าการค้นหาความจริงแบบอังกฤษใช้ไม่ได้ผลในบริบททางสังคม ของฝรั่งเศส นักกฎหมายแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสจึงเลือกที่จะสร้างระบบขึ้นมาใหม่ เป็นระบบในแบบ รูปของภาคพื้นทวีปในการตรวจสอบค้นหาความจริงที่มีการปรับปรุงโดยแก้ไขข้อผิดพลาดจากระบบ ไต่สวนเดิม 35 การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของสาธารณรัฐฝรั่งเศสจึงเป็นกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาที่พัฒนารูปแบบมาจากอดีตของการที่รัฐเป็นศูนย์กลางอำนาจแทน ซึ่งมีการรวม อำนาจ “สอบสวน” “ไต่สวน” และ “พิจารณาคดี” ไว้โดยคนเพียงคนเดียวที่เรียกกันว่า ระบบไต่สวน จึงต้องมีการแบ่งแยกอำนาจเหล่านี้ อันเป็นการเปลี่ยนรูปแบบกระบวนพิจารณาไปจากเดิม โดย 34 สุขสมัย สุทธิบดี. (2558). เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาการบริหารกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา LAW 6507 ส่วนที่ 2. หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. น. 25 35 Raymond K. Berg. Criminal Procedure: France, England, and the United States. p. 63
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3