แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
17 องค์กรอัยการที่ถูกตั้งขึ้นจากการโอนอำนาจของผู้พิพากษา ทำให้อัยการมีอำนาจในการเริ่มสืบสวน และดำเนินคดีเองได้ อย่างไรก็ตาม แม้สาธารณรัฐฝรั่งเศสจะมีการแบ่งแยกอำนาจออกจากกันก็มิได้ หมายความว่าจะเป็นการแบ่งแยกออกไปโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ทั้งสามขั้นตอนยังคงสัมพันธ์ต่อกัน ทั้ง ในเชิงโครงสร้างและอุดมการณ์จากกลุ่มวิชาชีพเดียวกัน 36 การดำเนินคดีอาญาในสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นระบบที่ใช้ตุลาการอาชีพเช่นเดียวกับกลุ่ม ประเทศในแถบภาคพื้นทวีปยุโรป ซึ่งคำว่าตุลาการอาชีพนั้น มิใช่เพียงตุลาการซึ่งเป็นผู้พิพากษาอาชีพ แต่ยังรวมถึง “พนักงานอัยการอาชีพ” อีกด้วย โดยบุคคลเหล่านี้ล้วนได้รับการคัดเลือกมาจากการ สอบแข่งขันในวิชาชีพ และโรงเรียนตุลาการแห่งชาติ Ecole nationale de la magistrature (ENM) ที่จะมีการอบรมพื้นฐานของทั้ง 3 ขั้นตอน ซึ่งนักศึกษาเมื่อจบจะอยู่ในสถานะ “ตุลาการ” (Magistrats) ที่หมายความว่า พวกเขาสามารถยักย้ายการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างกันได้ทั้ง 3 ขั้นตอน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมถูกปลูกฝังมาในทิศทางเดียวกันที่เป็นสากล ใน การคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะและการนำเอากฎหมายมาประยุกต์ใช้ (โดยกระบวนการขัดเกลา จากการศึกษาและการสอบ ซึ่งรากฐานของระบบดังกล่าวมาจากการขัดเลือกตัวแทนจาก แนวความคิดในระบบขุนนางปกครอง (Régime) สมัยอดีต เพียงแต่เปลี่ยนจากการคัดเลือกจากการ สืบสายโลหิต มาเป็นการคัดเลือกจากการศึกษาแทน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายคือผู้ที่ได้รับ การศึกษาที่สูงเหล่านี้) ผลที่ตามมาจากระบบนี้จึงเป็นการที่สามารถผูกอุดมการณ์และคุณธรรมของ องค์กรในกระบวนการยุติธรรมเข้าไว้ด้วยกัน แม้จะมีการแบ่งแยกอำนาจสอบสวนฟ้องร้องออกมาจาก อำนาจในการพิจารณาพิพากษาแล้วก็ตาม 37 แต่อุดมการณ์ยังคงมีเอกภาพ การดำเนินคดีอาญานอกจากจะมีอุดมการณ์ร่วมกันแล้ว ผู้พิพากษาและพนักงานอัยการยังมี บทบาทที่ซ้อนกันในโครงสร้างของการทำงานแม้โดยมีหน้าที่ที่ต่างกัน กล่าวคือ แม้จะมีการแยกการ สอบสวนฟ้องร้องกับการพิจารณาพิพากษาคดีออกจากกัน แต่การสอบสวนฟ้องร้องก็ยังคงมีบทบาท สำคัญในการพิจารณาคดีของศาลอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องของพยานหลักฐานและข้อหา ที่ต้องมีการชั่ง น้ำหนักของพยานหลักฐานและการหาข้อมูลอย่างรอบด้านจากการสอบสวน โดยที่ศาลในระบบของ สาธารณรัฐฝรั่งเศสก็มีอำนาจเรียกดูข้อมูลหรือเรียกพยานหลักฐานเพื่อการพิจารณาคดี ซึ่งเป็น ลักษณะเดียวกันกับการทำการสอบสวนหาข้อมูลเพื่อชั่งน้ำหนักคล้ายกับพนักงานอัยการ 38 อันเป็น ลักษณะของการร่วมกันตรวจสอบค้นหาความจริง 36 Jacqueline Hodgson and Laurène Soubise. (2016). Prosecution in France, Oxford Handbooks New York: Oxford University Press. p. 68 37 Ibid. p. 69-70 38 Ibid. p. 70-72
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3