แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
18 ส่วนปัญหาในเรื่องของการทรมานให้รับสารภาพนั้นมีการแก้ไขปัญหานี้โดยมีการคุ้มครอง สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยเทียบเท่าระดับสากล 39 และหลักในการตรวจสอบค้นหาความจริงที่แม้ ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะได้รับสารภาพ ในการดำเนินคดีอาญาก็จะต้องค้นหาความจริงแท้ของเรื่องที่ เกิดขึ้นจึงจะสามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ 40 ซึ่งจะขอกล่าวในบทที่ 2 และบทที่ 3 1.2 พัฒนาการของแนวคิดการดำเนินคดีอาญาในประเทศอังกฤษ เมื่อพิจารณาประวัติศาสตร์ของกระบวนการยุติธรรมจะพบว่า การรวมตัวของกลุ่มคนในสมัย ที่ยังไม่มีการก่อตัวขึ้นของรัฐ การตัดสินชี้ขาดคดีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจะกระทำโดยหัวหน้าเผ่า โดยที่ ผู้เสียหายนำผู้ที่กระทำความผิดมาฟ้องความต่อหัวหน้าเผ่า เพื่อให้หัวหน้าเผ่าทำการตัดสิน จึงพึง อนุมานได้ว่า ระบบการดำเนินคดีที่เป็นระบบเริ่มแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนั้น เป็นระบบกล่าวหา ส่วนการ จับบุคคลมาไต่สวนหาความจริงนั้นปรากฏหลักฐานของการเกิดขึ้นในยุคสมัยจักรวรรดิโรมัน โดยจะ เห็นว่ายุโรปในช่วงที่อำนาจรัฐยังไม่มีความเข้มแข็งจะมีระบบการพิจารณาคดีแบบไต่สวน ดังนั้น ระบบกล่าวหาจึงเป็นระบบเริ่มแรกที่พัฒนามาจากการแก้แค้นกันเองระหว่างผู้กระทำความผิดกับ ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายจะเป็นผู้ฟ้องคดีอาญาและมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานด้วยตนเอง หรือ บางกรณีในอดีตจะใช้วิธีทรมาน (trial by ordeal) เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย และการต่อสู้ (trial by battle) ต่อหน้าผู้ตัดสินซึ่งวางตัวเป็นกลางด้วยเช่นกัน 41 พัฒนาการทางแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมในระยะต่อมา ในกรีซกลุ่มคนฉลาดและ มีประสบการณ์ในการตัดสินคดีมามากที่เรียกว่า “Schdffen” ได้ทำการจัดระเบียบแบบแผนในการ ดำเนินคดีให้มีข้อกำหนดที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ในช่วงแรก ๆ เมื่อมีข้อกล่าวหาผู้ต้องหาบางครั้งอาจ พิสูจน์ความจริงด้วยการสู้รบ (trial by battle) ซึ่งเป็นพิจารณาคดีที่ถือว่าให้พระเจ้าตัดสิน นอกจากนั้น อาจเป็นการพิจารณาด้วยปากเปล่า กล่าวคือ ในความผิดที่ร้ายแรงน้อยจำเลยสามารถ พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองโดยคำสาบาน ส่วนกรณีความผิดที่หนักขึ้นคำสาบานจะเป็นเพียงส่วน สนับสนุนความน่าเชื่อถือ จนเห็นได้ชัดว่าศาสนานั้นแทรกซึมอยู่ในวิธีการค้นหาความจริง 42 39 โปรดศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อ บทที่ 3 40 โปรดศึกษาเพิ่มเติมในบทที่ 2 หัวข้อ 2.2.2 หลักการค้นความจริงด้วยหลักตรวจสอบ 41 สุนัย มโนมัย. (2552). ระบบกฎหมายอังกฤษ. คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: วิญญูชน. น. 68. 42 Ploscowe, Development of French Procedure, 23 J. Crim. L. & Criminology 372, 437 (1932). Esmein, A History of Continental Criminal Procedure, pp. 30, 31 อ้างอิง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3