แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

19 กฎหมายแองโกลแซกซอน (Anglo-Saxon law) เป็นกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดของอังกฤษ ซึ่ง นำเอากฎหมายจารีตประเพณีมาใช้ กฎหมายสมัยแองโกลแซกซอนจำนวนมากกำหนดรายละเอียด เกี่ยวกับการชำระค่าเสียหายไว้ โดยการชำระเป็นเงินตรา แต่ก็ไม่เกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายคอม มอนลอว์ 43 อย่างไรก็ตาม การพัฒนากระบวนการทางอาญาในประเทศอังกฤษนั้นย่อมมีความ คล้ายคลึงกับการพัฒนาในสังคมดั้งเดิมของยุคแรกเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น จนกระทั่งชาวแองโกลแซกซอนแพ้สงครามแก่ชาว “นอร์แมน” (Norman) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ของระบบคอมมอนลอว์ ในช่วง ค.ศ. 1016 – 1035 โดยกษัตริย์ชนเผ่านอร์แมนพระองค์แรกคือ พระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 ได้นำเอาระบบการปกครองที่เรียกว่า ระบบศักดินา ( Feudalism) มาใช้ใน ประเทศอังกฤษ แต่เนื่องจากพระองค์ไม่ต้องการที่จะบังคับประชาชนให้ปฏิบัติตามกฎหมายของชาน นอร์แมน พระเจ้าวิลเลี่ยมจึงได้ประกาศไว้อย่างชัดแจ้งว่าภายใต้การปกครองของพระองค์ให้ใช้ กฎหมายแองโกลแซกซอน บังคับต่อไป อย่างไรก็ตาม ศาลท้องถิ่นตามกฎหมายแองโกลแซกซอนนั้น ตัดสินคดีตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ซึ่งใช้วิธีพิจารณาคดี เช่น การหาคนมาอย่างน้อย 12 คนมา ช่วยสาบานยืนยันความจริง การดำน้ำลุยไฟ หรือให้คู่ความต่อสู้กันเพื่อพิสูจน์ความจริง จนฝ่ายที่แพ้ คดีไม่ได้รับความเป็นธรรมพากันร้องเรียนต่อพระเจ้าวิลเลี่ยม ทำให้พระองค์ต้องจัดตั้งศาลกษัตริย์ (King’ Court) หรือศาลหลวง (Royal Court) “เพื่อวางหลักเกณฑ์ที่เหมือน ๆ กันอันมีลักษณะ เป็นสามัญ” (Common) เพื่อใช้ร่วมกันได้ทั่วประเทศ 44 จึงทำให้กฎหมายคอมมอนลอว์เริ่มก่อตัวขึ้น ในประเทศอังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา 45 ศาลหลวงทั้งพิจารณาคดี ณ ที่ตั้ง หรือส่งผู้พิพากษาจากส่วนกลางออกไปตัดสิน มีการค้นหา ความจริงโดยการเรียกคู่ความอีกฝ่ายมาด้วยอำนาจรัฐแล้วไต่สวนพยาน การเรียกพยานมาให้การต่อ ศาลโดยศาลหลวง มีการสาบานตนก่อนให้การ แทนการพิสูจน์ที่ล้าหลังของศาลท้องถิ่น จึงเป็นที่นิยม ของประชาชน เพราะนอกจากศาลหลวงเป็นศาลที่สูงกว่าศาลท้องถิ่นแล้ว การที่คดีของตนผ่านการ ใน Raymond K. Berg, “Criminal Procedure: France, England, and the United States”, DePaul Law Review, Volume 8 Issue 2 Spring-Summer 1959 Article 5, p. 257 43 Raymond K. Berg. Criminal Procedure: France, England, and the United States. p. 264 44 การวางหลักจึงถูกกระทำโดยศาล และทำให้เมื่อชายคนหนึ่งถูกดำเนินคดีอย่างไรตาม ชนบท ผู้พิพากษาก็จะพยายามใช้วิธีการเดียวกันกับที่เคยใช้นี้กับคนอื่น ๆ ในกรณีเดียวกันด้วย 45 กำธร กำประเสริฐ, สุเมธ จานประดับ. (2559). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบ กฎหมายหลัก. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. น. 154-156

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3