แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

20 ค้นหาความจริงโดยศาลหลวงก็เป็นวิธีซึ่งชาวบ้านเห็นว่าน่าจะทำให้คดีของตนได้รับความเป็นธรรม และมีความแน่นอนมากกว่าการพิจารณาโดยศาลอื่น ๆ 46 นอกจากนั้น ศาลหลวงยังได้นำวิธีพิจารณาคดีแบบใหม่ โดยการให้มีคณะลูกขุน (Jury) 47 เป็น ผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริง ซึ่งเกิดจากจากการตัดสินข้อพิพาทในชนบท ระหว่างผู้มียศศักดิ์เจ้าของ ที่ดินกับประชาชน (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์แมนผู้ปกครองจึงเกิดความกังวลเรื่องความเป็นกลาง) โดยเริ่มจากการเรียกเพื่อนบ้านผู้เกี่ยวข้องและผู้รู้ข้อเท็จจริงเข้ามาให้การในคดี (ในตอนแรกจึงมีการ อนุญาตให้ลูกขุนตัดสินจากข้อเท็จจริงที่ตนรู้มานอกศาลได้) ก่อนจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของผู้ตัดสิน ตามระบบลูกขุนในเวลาต่อมา ลูกขุนจึงใช้เพื่อป้องกันการเข้าข้างกันของผู้มีอำนาจ ในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า การที่คดีของจำเลยจะยังไม่ถูกพิจารณาหากได้รับการกล่าวหาอย่าง เป็นทางการโดยเหยื่อ หรือไม่สามารถหาพยานบุคคลที่มาโดยสมัครใจได้มากพอที่จะพิสูจน์ความผิด ทำให้ผู้เสียหายอาจไม่กล้าฟ้องคดี เพราะเกรงว่าหากแพ้คดีแล้วตนอาจจะถูกลงโทษได้ ข้อบกพร่อง ของระบบนี้จึงอยู่ที่การกล่าวหาที่ต้องอาศัยความสมัครใจของพยาน และบทลงโทษสำหรับการ กล่าวหาเท็จนั้นรุนแรง จนทำให้เหยื่อและพยานอาจจะลังเลที่จะกล่าวหาเพราะกลัวโทษ จึงเกิดความ ยากลำบากในการตัดสินใจเข้าต่อสู้คดี จนทำให้ผู้กระทำผิดหรือผู้ทรงอิทธิพลลอยนวล 48 ต่อมาในยุคกลาง กษัตริย์เฮนรี่ที่สองได้มีการจัดตั้งศาลทางฆราวาสที่ใช้ระบบกล่าวหา แยก ต่างหากจากศาลศาสนาตั้งแต่ในช่วงปี ค.ศ. 1160 โดยที่ศาลฆราวาสจะใช้การดำเนินคดีตามกฎหมาย จารีตประเพณีและยังคงพิจารณาด้วยระบบกล่าวหา ขณะที่ศาลศาสนาของอังกฤษก็เป็นเช่นเดียวกับ ในทวีปยุโรปซึ่งนำมาใช้ในระบบการไต่สวน จนกระทั่งในสมัยของพระเจ้าเฮ็นรี่ที่แปด (King Henry VIII) ซึ่งวิธีพิจารณาคดีแบบไต่สวนถูกพระเจ้าเฮ็นรี่ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อการการดำเนินคดี กับผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายของพระองค์อยู่บ่อยครั้ง เป็นเหตุให้รัฐสภาอังกฤษต้องยกเลิกรูปแบบ ของการพิจารณาคดีในระบบไต่สวน เนื่องจากเห็นว่าเป็นรูปแบบการพิจารณาคดีที่คุกคามสิทธิและ 46 เรื่องเดียวกัน. น. 155 47 แนวคิดเช่นนี้เคยมีมาก่อนตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ศาล ณ กรุงเอเธนส์ได้เชิญประชาชนมา นั่งพิจารณาคดี ซึ่งในกรีกการใช้ลูกขุนนั้นมีรากฐานมาจากแนวคิดเรื่องประชาธิปไตย 48 กุลพล พลวัน. (2546). การพิจารณาคดีระบบกล่าวหาและระบบไต่สวนในกฎหมายไทยที่ มีผลกระทบต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ. ปีที่ 5 เล่มที่13 (มกราคม – เมษายน) น. 34-50

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3