แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
21 เสรีภาพของประชาชนทำให้ประเทศอังกฤษใช้การดำเนินคดีในระบบกล่าวหาเพียงรูปแบบเดียว 49 จน ระบบมีการพัฒนาการแยกจากภาคพื้นทวีปอย่างต่อเนื่อง และเมื่อยุคมืดผ่านไปแม้อังกฤษต้องเผชิญ กับปัญหาเดียวกันกับที่ฝรั่งเศส ซึ่งแม้จะสามารถแก้ไขได้โดยการใช้ขั้นตอนการสอบสวนของศาสน จักรและกฎหมายโรมัน แต่อังกฤษกลับไม่ได้รับเอากระบวนการไต่สวนเช่นเดียวกันนี้มาใช้ หากแต่ใช่ วิธีการใหม่ในการพิจารณาคดีคดีอาญา คือการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน ซึ่งในกรณีนี้มีข้อ สันนิษฐานที่มีเหตุผลว่า สาเหตุที่อังกฤษไม่สามารถนำระบบการพิจารณาของฝรั่งเศสมาใช้ได้ เนื่องจากประเทศอังกฤษไม่ได้รวมศูนย์ในแบบประเทศฝรั่งเศส 50 (โดยจะเห็นว่ากษัตริย์ในอังกฤษต้อง ลงนามในสนธิสัญญาแมคนาคาร์ตาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1199 จึงต่างจากการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ความขัดแย้งยัง เป็นระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับอังกฤษ หรือแม้กระทั่งในภายหลังนโปเลียนก็ยังคุมอำนาจรวมศูนย์) และไม่มีเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายบริหารที่เหมาะสมที่จะมาทำหน้าที่เช่นเดียวกับผู้พิพากษาในฝรั่งเศส เพื่อ ดำเนินการพิจารณาคดีด้วยวิธีการตรวจสอบความจริง นอกจากนี้ ยังอาจเป็นไปได้ว่าอังกฤษได้ก้าว ออกจากทวีปจนไกลเกินกว่าจะคุ้นเคยกับวิธีการในการไต่สวนที่จะทำการพัฒนาในรูปแบบระบบไต่ สวน 51 นิติวิธีในการตรวจสอบค้นหาความจริงในระบบ Common Law นั้นพัฒนามาจากการ ดำเนินคดีในระบบกล่าวหาที่คู่ความมีบทบาทสำคัญในการดำเนินคดี และจากแนวคิดในเรื่องของการ ดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน เมื่อประชาชนมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย คู่ความจึงมีบทบาท อย่างยิ่งในการค้นหาความจริง และตรวจสอบความจริงด้วยกลไกลของการถามค้าน ( the cross- examination) เพื่อให้ปรากฏขึ้นซึ่งความจริง วิธีการดังกล่าวจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับการต่อสู้ ที่ ตัดสินแพ้ชนะกันด้วยน้ำหนักของพยานหลักฐาน ที่นำสืบภายใต้กฎกติกาของกฎหมายซึ่งกำหนดขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการต่อสู้ การพิจารณาคดีจึงมิได้เล็งผลเลิศถึงการทราบความจริงแท้ แต่ เป็นลักษณะของความจริงที่ได้มาตามแบบพิธีที่ได้จากผลการต่อสู้อย่างยุติธรรม 49 อุทัย อาทิเวช. (2557). รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: วี. เจ.พริ้นติ้ง. น. 3-4 50 รองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท ได้เคยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับระบบการดำเนินคดีไว้ ว่า ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาระบบไต่สวนมักจะปรากฏขึ้นเมื่ออำนาจรัฐเข้มแข็ง เมื่ออำนาจรัฐ อ่อนแอการดำเนินคดีมักจะเป็นระบบกล่าวหา 51 Raymond K. Berg. Criminal Procedure: France, England, and the United States. DePaul Law Review, Volume 8 Issue 2 Spring-Summer 1959 Article 5. p.266
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3