แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

42 เรียบร้อยของสังคม และสังคมที่ปล่อยให้มีการทำร้ายร่างกายกันแล้วตกลงจ่ายเงินกันได้ (มีการ เยียวยาผู้เสียหายจากการทำร้ายร่างกายแล้วระงับการดำเนินคดีได้) ย่อมไม่ใช่สังคมที่สงบสุข และแม้ การให้อภัยจากผู้เสียหายที่การได้รับการเยียวยาจะเป็นสิ่งที่ดี แต่การให้อภัยดังกล่าวย่อมไม่อาจ ทำลายความจำเป็นในการลงโทษ เพื่อให้ผู้กระทำเข็ดหลาบ และไม่ให้ผู้อื่นในสังคมนำการกระทำนั้น ไปเป็นแบบอย่างได้ ความจำเป็นในการลงโทษในทางอาญาจึงมีส่วนที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของ ผู้เสียหายโดยจะเห็นว่า ความจำเป็นในการลงโทษในทางอาญานั้นเป็นเรื่องของประโยชน์สุขโดยรวม ของสังคมซึ่งแยกออกจากการเยียวยาผู้เสียหายได้อย่างชัดเจน จึงกล่าวได้ว่า การกำหนดความรับผิด และการลงโทษในทางอาญานั้นเป็นไปเพื่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด โดยลงโทษ เพื่อให้ผู้กระทำเข็ดหลาบ ข่มขู่ยับยั้งคนในสังคมเพื่อไม่ให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง หรือแก้ไขฟื้นฟู้ผู้กระทำ ความผิดจากสาเหตุของการกระทำเพื่อป้องกันสังคมจากการกระทำความผิดซ้ำ สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการบังคับโทษทางอาญาที่เป็นไปเพื่อผู้กระทำความผิดจะต้องดำรงชีวิตในอนาคต อย่างปราศจากการกระทำความผิดและรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงเพื่อเป็นการคุ้มครองสังคม ความ รับผิดในทางอาญาจึงเป็นไปเพื่อทำให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อย 96 ในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า กรณีไม่รวมถึงฐานความผิดต่อส่วนตัว เนื่องความผิดประเภทนี้มี ผลกระทบประโยชน์ส่วนรวมในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบการกระทบต่อประโยชน์ของตัวผู้เสียหาย เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท แม้ความผิดจะมีส่วนเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของสังคม แต่หากบุคคล ผู้ถูกหมิ่นประมาทไม่เอาความ ประชาชนในสังคมก็ไม่เดือดร้อนเท่าใดนัก ดังนั้น ความผิดประเภทนี้ จะต้องการดำเนินคดีอาญาหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับเจตจำนงของผู้เสียหายในการร้องทุกข์ และหากมีการ ถอนฟ้อง ยอมความ หรือถอนคำร้องทุกข์ ซึ่งเป็นการแสดงเจตจำนงของผู้เสียหายว่าจะไม่เอาความ ย่อมทำให้คดีความผิดต่อส่วนตัวระงับสิ้นไป ต่างจากความผิดอาญาแผ่นดินที่มีลักษณะตามที่กล่าว มาแล้วข้างต้น 2.2.3 หลักการค้นความจริงด้วยหลักตรวจสอบ หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐนั้นอาศัยหลักการตรวจสอบความจริง (Examination Principle) เนื่องจากการทราบความจริงแท้จะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ในการรักษาความสงบ เรียบร้อยของรัฐ ซึ่งต่างจากการค้นหาความจริงในคดีแพ่ง เนื่องจากในคดีแพ่งเป็นปัญหาระหว่าง บุคคล ที่แม้ภารกิจของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เป็นไปนั้นเป็นวิธีการที่รัฐระงับข้อพิพาทและ บังคับให้เป็นไปตามสิทธิและหน้าที่ของเอกชน เพื่อมิให้เกิดการไปบังคับสิทธิกันเอง และการพัฒนา 96 โปรดศึกษาเพิ่มเติมในบทที่ 14 พัฒนาการและแนวคิดในการลงโทษ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3