แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

43 กฎหมายจากการตีความปรับใช้หรือการใช้หลักกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งเมื่อเกิดข้อพิพาทไม่มี กฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 4 97 อีกทั้งยังมีส่วนของ ภารกิจ ในการรักษาความสงบเรียบร้อย เช่นเดียวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอื่น ๆ อยู่ด้วยก็ตาม แต่การดำเนินคดีแพ่งยังมีลักษณะของภารกิจเฉพาะ ซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อหาของคดี โดยจะ ประกอบด้วย 1. ภารกิจในการชี้ขาดตัดสิน กล่าวคือ เมื่อเป็นเรื่องของข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของ เอกชนจึงเป็นเรื่องของประโยชน์ส่วนบุคคลที่รัฐเข้ามาจัดการดูแลให้ การดำเนินคดีแพ่งโดยทั่วไปจึง อาศัยหลักการตกลง (Negotiation Principle) โดยเป็นเรื่องของการเคารพเจตจำนงของคู่กรณีเป็น หลัก ซึ่งจะเห็นได้ว่า กรณีหากคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้คดีความย่อมไม่เกิด คดีแพ่งจึงเริ่มเมื่อ คู่ความนำคดีขึ้นสู่ศาล และแม้ศาลจะมีคำตัดสินไปแล้วคู่ความก็ยังสามารถตกลงให้แตกต่างไปจากคำ พิพากษาได้เสมอ และแม้จะมิได้ปรากฏขึ้นซึ่งความจริงแก่คดี แต่หากเกิดแนวทางที่คู่ความทั้งสองฝ่าย มีความพึงพอใจเกิดขึ้น ปัญหาที่จะต้องได้รับแก้ไขในคดีแพ่งก็ย่อมหมดไปแล้วเช่นกัน ศาลจึงเป็นเพียง ผู้ชี้ขาดให้ตามสั่งที่คู่ความนำเสนอและยังไม่ยอมรับกันเท่านั้น คดีแพ่งจึงมีการค้นหาความจริงกันด้วย การต่อสู้ระหว่างคู่ความอย่างแท้จริง ในขณะที่ศาลจะวางเฉยและควบคุมกติกาเพื่อให้การต่อสู้เป็นไป อย่างเท่าเทียมเป็นหลัก นอกจากนี้ เมื่อคดีแพ่งเป็นเรื่องของข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของเอกชนจึง เป็นเรื่องของประโยชน์ส่วนบุคคลที่รัฐเข้ามาจัดการดูแลให้ การดำเนินคดีจึงมีเรื่องของภาระการ พิสูจน์ให้ศาลเชื่อ เนื่องจากในการพิพากษาต้องอาศัยพื้นฐานของข้อเท็จจริงจากกระทำของคู่ความ 98 2. ภารกิจในการรักษาสถาบันทางกฎหมาย เนื่องจากเนื้อหาของคดีแพ่งในบางกรณีจะมีส่วน ของสถาบันซึ่งรัฐประสงค์จะดำรงไว้เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการสมรสเดียว สิทธิในครอบครัว สิทธิแห่งสภาพบุคคล กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาท เช่นนี้ศาลต้องให้มีการนำสืบโดยฝ่าย โจทก์เสมอ และมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบเองได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม รวมถึง กรณีการพิจารณาคดีโดยขาดนัด หรือกรณีมีประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น “ปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคแรก จะเห็นว่าในกรณีเหล่านี้ศาลมีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยได้เองเมื่อพบในเชิง รุกและหลักการตรวจสอบความจริงเช่นเดียวกับการดำเนินคดีอาญา เนื่องจากเป็นกรณีที่รัฐไม่อาจ ละเลยหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของตนได้ 99 97 คณิต ณ นคร. (2558). กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาคการดำเนินคดี. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพ: วิญญูชน. น. 46-53 98 เรื่องเดียวกัน. น. 358 99 เรื่องเดียวกัน. น. 50-53

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3