แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

44 ในทางกลับกันกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหากไม่ได้มีการวางหลักเกณฑ์และวิธีการที่ เหมาะสม หรือไม่มีวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมในการค้นหาความจริง เช่น การรวบรวมพยานหลักฐานที่ทำ ได้ไม่ดีพอ หรือการถูกแทรกแซงบิดเบือนได้โดยง่าย “ความเท็จ” หรือ “ความจริงอันไม่ครบถ้วน” ที่ ได้ ย่อมจะทำให้ศาลไม่อาจตัดสินคดีได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เช่น ไม่สามารถรู้ตัวหรือไม่ สามารถลงโทษผู้กระทำผิดที่แท้จริงได้โดยจำต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย (in dubio pro reo) การตัดสินลงโทษผู้ซึ่งไม่ได้กระทำความผิด หรือไม่สามารถกำหนดโทษที่เหมาะสมกับ ผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคลได้ รวมถึงการที่พนักงานอัยการไม่อาจจะสั่งคดีได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งในที่สุดการชี้ขาดคดีดังกล่าวก็จะนำไปสู่การบังคับคดีตามคำตัดสินอันผิดเพี้ยน ที่ นอกจากจะทำให้ไม่อาจบรรลุตามภารกิจข้างต้นได้โดยสมบูรณ์แล้ว ยังเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดสูญ เปล่าของกระบวนการยุติธรรม ความเสี่ยงที่จะมีการลงโทษผู้บริสุทธิ์ การไม่สามารถคืนคนดีสู่สังคมได้ เนื่องจากกำหนดโทษได้ไม่เหมาะสมกับการแก้ไขฟื้นฟู การไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดที่แท้จริงมา ลงโทษได้ และง่ายที่จะเป็นเครื่องมือของการกลั่นแกล้งใส่ร้ายกัน ซึ่งล้วนเป็นผลในทางตรงข้ามกับ ภารกิจของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ความจริงแท้ที่ถูกต้องและครบถ้วนจึงเป็นกุญแจสำคัญแห่งความเป็นภาววิสัย และ ความสำเร็จของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นมีขึ้นด้วย วัตถุประสงค์ใน “การปกป้องสังคมให้สงบสุข” อันเป็นคุณค่าที่สำคัญของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม หากกระบวนการค้นหาไม่สามารถทำให้ปรากฏขึ้นซึ่งความจริงแท้แล้ว ย่อมจะไม่สามารถอำนวยความ ยุติธรรม หรือ แก้ไขจัดการกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดตามกฎหมาย อาญาได้ การตรวจสอบค้นหาความจริงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินคดีอาญาในอันจะนำไปสู่ การบรรลุถึงภารกิจของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การตรวจสอบค้นหาความจริงในระบบซีวิลลอว์ (Civil Law) เป็นผลมาจากการปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องของการตรวจสอบค้นหาความจริงในระบบไต่สวนโดยศาลศาสนาในยุคกลาง ภายใต้ ด้วยแนวคิดที่ว่า การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่ของรัฐ รัฐจึงมีบทบาทอย่างมากในการ ตรวจสอบค้นหาความจริง (Examination Principle) โดยที่ทุกองค์กรในการดำเนินคดีต่างมีอำนาจ และหน้าที่ที่จะต้องร่วมมือกันในการทำให้ปรากฏขึ้นซึ่งความจริงแท้ ทั้งในด้านความจริงของเรื่องและ ความจริงของบุคคล ทัศนคติและรูปแบบของวิธีการจึงต่างจากระบบจารีตประเพณี การตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อให้ทราบความจริงแท้จะเริ่มตั้งแต่ชั้นเจ้าพนักงาน หาใช่เริ่ม ที่ชั้นศาลดังเช่นระบบจารีตประเพณี โดยที่เจ้าพนักงานจะมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนซึ่งเป็นการ รวบรวมข้อมูลและสอบสวนฟ้องร้องอันเป็นการตรวจสอบค้นหาความจริง เพื่อการบรรลุภารกิจสอง ประการ คือ การทราบความจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิด และการทราบความจริงเกี่ยวกับตัว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3