แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
50 ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย การดำเนินคดีอาญาในฐานความผิดซึ่งเป็น ความผิดอันยอมความได้ รัฐจึงขึ้นอยู่กับเจตจำนงของผู้เสียหายเป็นสำคัญ กรณีจึงต่างจากความผิดอาญาโดยทั่วไป ซึ่งคุณธรรมทางกฎหมายในความผิดฐานนั้นมุ่งที่จะ คุ้มครองประโยชน์ส่วนรวม จึงไม่สามารถยอมความกันได้ และเป็นกรณีที่รัฐจะต้องตรวจสอบให้ทราบ ถึงความจริงแท้จากการดำเนินคดี ส่วนความผิดลหุโทษนั้นเป็นการกระทำที่ไม่ได้ร้ายแรงและมิได้มิความน่าตำหนิมากจนไม่อาจ เรียกได้ว่าการกระทำนั้นเป็น อาชญากรรม (Crime) และที่สำคัญคือการกระทำความผิดลหุโทษนั้นส่ง กระทบต่อประโยชน์ส่วนรวมน้อยมากหรือไม่ส่งผลกระทบเลย เมื่อพิจารณาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มาตรา 35 พบว่า มีการจำกัดขอบเขตของการใช้วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาซึ่งใช้ หลักตกลง ได้เฉพาะ 1. ความผิดอันยอมความได้ 2. ความผิดลหุโทษบางมาตราเท่านั้น ตามมาตรา 390 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น รับอันตราย มาตรา 391 ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตราย มาตรา 392 ทำให้ ผู้อื่นเกิดความกลัว หรือความตกใจ โดยการขู่เข็ญ มาตรา 393 ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการ โฆษณา มาตรา 394 ไล่ ต้อน หรือทำให้สัตว์ใด ๆ เข้าในสวน ไร่ หรือนาของผู้อื่น มาตรา 395 ปล่อย ปละละเลยให้สัตว์นั้นเข้าในสวน ไร่หรือนาของผู้อื่น และมาตรา 397 รังแก ข่มเหง คุกคาม หรือ กระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญแห่งประมวลกฎหมายอาญา และความผิดลหุโทษ อื่นที่ไม่กระทบต่อส่วนรวมตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 จึง มิได้ขัดกับหลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐที่ต้องอาศัยหลักตรวจสอบ (Examination Principle) ใน การค้นหาความจริง 2.3.3 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องเป็น “ระบบไต่สวนข้อเท็จจริง” โดยยึดสำนวนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นหลัก ซึ่งเท่ากับการ กำหนดไว้อย่างชัดเจนให้การดำเนินคดีในชั้นเจ้าพนักงานเป็นชั้นหลัก ส่วนการดำเนินคดีในชั้นศาลจะ เป็นการตรวจสอบเรื่องราวของข้อเท็จจริงในสำนวนอันเป็นการกลั่นกรองคดี เป็นการวางหลักของ การค้นหาความจริงในระบบตรวจสอบที่ต่างจากระบบต่อสู้ซึ่งสำนวนการสอบสวนจากชั้นเจ้าพนักงาน จะเป็นเพียงเงื่อนไขในการฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ส่วนการดำเนินคดีในชั้นศาลจะเป็นการเริ่ม พิจารณาคดีกันใหม่ เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3