แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
52 ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งศาล จะต้องยึดสำนวนคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นหลัก โดยในการพิจารณาศาลจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ แสวงหาข้อเท็จจริงโดยการซักถามพยานและแสวงหาพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดหรือความ บริสุทธิ์ของจำเลย ตามมาตรา 6 โดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักภาระการพิสูจน์ เนื่องจากไม่ใช่การค้นหา ความจริงด้วยระบบต่อสู้ โจทก์ไม่ได้มีหน้าที่นำสืบพยานพิสูจน์ความผิดของจำเลยตามที่กล่าวหา หากแต่เป็นบทบาทของศาลที่จะต้องซักถามพยานด้วยตนเอง เพื่อตรวจสอบความจริงตามที่ปรากฏใน สำนวน การแสวงหาพยานหลักฐาน มาตรา 7 ศาลมีอำนาจออกหมายอาญาและหมายใด ๆ และมีอำนาจเรียกเอกสารหรือ หลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้ศาลอื่น พนักงาน สอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการใดเพื่อ ประโยชน์แห่งการพิจารณาได้ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่งและวรรคสอง นอกจากนี้ ตามมาตรา 39 กำหนดว่า ศาลอาจเป็นผู้เรียกผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาคดีได้เอง โดยต้อง แจ้งให้คู่ความทราบ การรับฟังพยานหลักฐาน ศาลมีดุลพินิจอย่างกว้างขวางในการสืบพยานและรับฟังข้อเท็จจริง กล่าวคือ ศาลมีดุลพินิจ อย่างกว้างในการสืบพยานและการรับฟังข้อเท็จจริง ศาลรับฟังพยานหลักฐาน ได้แม้ว่าการไต่สวน พยานหลักฐานนั้นจะมีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากขั้นตอน วิธีการ หรือกรอบระยะเวลาที่ กฎหมายกำหนดไว้ ไม่มีบทตัดพยาน ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับชั้นของพยานหลักฐานว่า ศาลไม่เคร่งครัด กติกาในการรับฟังพยานหลักฐานมากนัก แม้เป็นพยานที่ไม่มีในบัญชีระบุพยาน คำให้การพยานชั้นไต่ สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะผู้ไต่สวนอิสระ ศาลล้วนสามารถรับฟังพยานทุกชนิดเพื่อ พิสูจน์ความบริสุทธิ์หรือนำมาลงโทษจำเลย 2.3.5 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง พ. ศ. 2562 ส่วนที่ 2 การตรวจและไต่สวนพยานหลักฐาน ข้อที่ 23 จะพบว่าได้มีการวางหลักให้ ศาล จะต้องเป็นผู้ซักถามพยานดัวยตนเอง ส่วนโจทก์และจำเลยนั้นการถามพยานจะเป็นการถามเพิ่มเติม อันเป็นลักษณะของการกระตุ้นให้ศาลค้นหาข้อเท็จจริง จึงแปลความได้ว่า คำว่า ระบบไต่สวนในที่นี้มี ความหมายเดียวกันกับการใช้ระบบตรวจสอบในการค้นหาความจริง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3