แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

54 บทที่ 3 การควบคุมอาชญากรรมและความชอบด้วยกระบวนการทางกฎหมาย ในการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้น มีความจำเป็นในการเอาตัวบุคคลไว้ ในอำนาจรัฐ ใช้มาตรการบังคับแก่ผู้ถูกกล่าวหา และหากมีการให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการเอาตัว บุคคลไว้ในอำนาจรัฐโดยสะดวก ไม่มีขั้นตอนในการตรวจสอบถ่วงดุล ย่อมที่จะทำให้การดำเนิน กระบวนการยุติธรรมกระทำได้สะดวก รวดเร็ว เอื้อต่อการควบคุมอาชญากรรม และในทางกลับกัน การคำนึงถึงผลกระทบของการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐดังกล่าว เพื่อที่จะลดการกระทำที่กระทบ ต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีขั้นตอนในการตรวจสอบที่ยุ่งยากนั้น ก็ย่อมทำให้การดำเนิน กระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างล่าช้า และเป็นการลดประสิทธิภาพในการควบคุมอาชญากรรม เช่นกัน จึงเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาว่ารูปแบบของกระบวนการยุติธรรมควรมีการให้ความสำคัญ ระหว่างประสิทธิภาพในการควบคุมอาชญากรรมและการคุ้มครองสิทธิของประชาชนมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้รูปแบบของกระบวนการยุติธรรมในแต่ละประเทศย่อมมีจุดยืนของแนวคิดในเรื่องดังกล่าวที่ แตกต่างกันไป ซึ่งในประเด็นนี้ศาสตราจารย์ Herbert Packer 107 ได้ทำการศึกษาและแบ่งรูปแบบ ของการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นสองรูปแบบคือ รูปแบบการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Mode) และรูปแบบกระบวนการนิติธรรม (The Due Process Mode) 3.1 รูปแบบการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Mode) เป็นรูปแบบที่มีแนวคิดที่เน้นหนักไปในทางการป้องกันและการปราบปรามอาชญากรรม โดย เชื่อว่าประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมอยู่ที่การควบคุม ระงับ และปราบปรามอาชญากรรม เป็นหลักสำคัญ จึงต้องมีสถิติการจับกุมผู้กระทำความผิดและมีการพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดสูง เนื่องจากหากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมหรือปราบปรามอาชญากรรมหรือจับกุมผู้กระทำผิดมา ลงโทษได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าความไม่สงบเรียบร้อยของสังคมและเสรีภาพของประชาชนผู้สุจริตย่อม ได้รับความกระทบกระเทือน การควบคุมอาชญากรรมจึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ ในระดับสูง ซึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นจึงต้องมีการจับกุม การฟ้องร้อง และการ พิพากษาผู้กระทำผิดอาญาที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว มีการดำเนินการในรูปแบบที่เป็น 107 Packer Herbert. (1964). Two models of the criminal process. University of Pennsylvania Law Review. p. 113 อ้างอิงใน อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ. (2552). ทฤษฎีอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: วิญญูชน. น. 106

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3