แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

55 ทางการน้อย และปราศจากอุปสรรคที่กินเวลา 108 ดังนั้น จึงมีการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือ จำเลยมีความผิด (Presumption of Guilt) และเมื่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีประสิทธิภาพ สูงก็ย่อมทำให้มีผลการปราบปรามอาชญากรรมสูงตามไปด้วย ส่งผลให้สังคมมีความสงบเรียบร้อยใน ส่วนของการดำเนินคดีอาญาจะดำเนินไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า กระบวนการกลั่นกรอง (Screening Process) ของแนวคิดที่เน้น การควบคุมอาชญากรรมจะมีในการดำเนินกระบวนยุติธรรมในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่การสืบสวนก่อนทำ การจับกุม การจับกุม การสืบสวนภายหลังการจับกุม การเตรียมคดีเพื่อฟ้องต่อศาล การพิจารณาคดี และการลงโทษผู้กระทำความผิด หรือการปลดปล่อยจำเลย ซึ่งในกรณีที่ผู้ต้องหาบริสุทธิ์ ผู้ต้องหาจะ ถูกกลั่นกรองออกไป เช่น มีพยานหลักฐานไม่เพียงพอ หรือไม่ทราบแน่ว่าได้กระทำความผิด เป็นต้น 3.2 รูปแบบศุภนิติกระบวน (The Due Process Mode) รูปแบบนี้ให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นธรรมในแต่ละขั้นตอนต่าง ๆ และยึดถือกฎหมาย หรือหลักนิติธรรมมีความสำคัญมากกว่าแนวคิดคิดในเรื่องการควบคุมอาชญากรรม เนื่องจากการ ค้นหาข้อเท็จจริงซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการหรือฝ่ายปกครอง ในบางกรณีอาจใช้วิธีการ ล่อลวง ขู่เข็ญ หรือการสร้างพยานหลักฐานขึ้นใหม่ได้ และเพราะในรูปแบบดังกล่าวมุ่งเน้นถึงการ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญอันจะต้องยึดถือเป็นหลัก ในการพิจารณาคดีอาญา หรือไต่สวนข้อกล่าวหาจึงต้องมีลักษณะเป็นทางการและเปิดเผยในศาลสถิตยุติธรรม และจะต้อง สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ (The Presumption of Innocent) กล่าวคือ บุคคลจะไม่ถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมเพียงเพราะมีพยานหลักฐานว่าเขาได้กระทำเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ที่จะต้องพิสูจน์ความผิดนั้นให้ได้ และมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อ ป้องกันมิให้รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจ ซึ่งอาจส่งผลให้ขั้นตอนและวิธีดำเนินการสืบสวนสอบสวน ตลอดจนการพิจารณาพิพากษาเป็นไปอย่างล่าช้า ในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า การแบ่งรูปแบบของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นที่นิยมอาจ แบ่งได้ 2 แบบกล่าวคือ 108 ประธาน วัฒนวานิณิชย์. (2520). ระบบความยุติธรรมทางอาญา: แนวความคิดเกี่ยวกับ การควบคุม. อาชญากรรมและกระบวนการนิติธรรม. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี ที่ 9 ฉบับที่ 2. น. 150-152

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3