แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

56 ก) แบ่งประเภทตามเกณฑ์เรื่องของจุดมุ่งหมายจุดยืนที่มุ่งเน้นโดยแบ่งเป็น รูปแบบการ ควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Mode) และรูปแบบศุภนิติกระบวน (The Due Process Mode) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่มาจากระบบกฎหมายคอมมอลลอว์เพื่อประโยชน์ในเรื่องความสมดุลของ จุดมุ่งหมายทั้งสองด้าน หรือ ข) แบ่งประเภทตามระบบของการดำเนินวิธีพิจารณาความอาญาโดยแบ่งเป็น ระบบกล่าวหา และระบบไต่สวน ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมโยงของพัฒนาการในแนวคิดและการดำเนินวิธีพิจารณาความ อาญา เป็นการแบ่งที่ได้รับอิทธิพลทางแนวคิดจากระบบกฎหมายซีวิลลอว์ การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายของประเทศที่ดำเนินคดีอาญาในระบบคอมมอลลอว์ถูก อธิบายผ่านทางหลักของ Due process หรือหลักความชอบด้วยกฎหมาย และการควบคุม อาชญากรรมCrime Control) 3.3 ความแตกต่างระหว่าง Crime Control และ Due Process กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแม้มีความต่างกันในการกล่าวถึงหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ อำนาจ ระบบ ตลอดจนวิธีการดำเนินคดี แต่สามารถแบ่งประเภทจากสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นพื้นฐานอย่าง เดียวกันคือ แนวคิดในเรื่องของ Due process และ Crime control ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่เป็นเครื่องมือใน การอธิบายวิธีดำเนินการในการดำเนินคดีอาญาโดย ศาสตราจารย์ Herbert Packer ซึ่งได้ ทำการศึกษาและแบ่งรูปแบบของการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นสองรูปแบบคือ รูปแบบการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Mode) เป็นรูปแบบที่มีแนวคิดที่เน้นหนักไปใน ทางการป้องกันและการปราบปรามอาชญากรรม โดยเชื่อว่าประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมอยู่ ที่การควบคุม ระงับ และปราบปรามอาชญากรรมเป็นหลักสำคัญ หากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุม หรือปราบปรามอาชญากรรมหรือจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ ได้ การควบคุมอาชญากรรมจึง จำเป็นต้องมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพในระดับสูง เช่น กระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เน้น การจับกุม การฟ้องร้อง และการพิพากษาผู้กระทำผิดอาญาที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว มี การดำเนินการในรูปแบบที่เป็นทางการน้อย และปราศจากอุปสรรคที่กินเวลา ส่วนรูปแบบ กระบวนการนิติธรรม (Due Process Mode) ซึ่งรูปแบบนี้ให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นธรรมในแต่ ละขั้นตอนต่าง ๆ และยึดถือกฎหมายหรือหลักนิติธรรมมีความสำคัญมากกว่าแนวคิดคิดในเรื่องการ ควบคุมอาชญากรรม เช่น การกำหนดข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ (The Presumption of Innocent) กล่าวคือ บุคคลจะไม่ถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมเพียงเพราะมี พยานหลักฐานว่าเขาได้กระทำเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ที่จะต้องพิสูจน์ความผิดนั้นให้ได้ การมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อป้องกันมิให้รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจ เพื่อคุ้มครองสิทธิของ ประชาชน Crime Control และ Due process จึงมีความสัมพันธ์กันในลักษณะของการแปรผกผัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3