แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

57 (Inverse variation) 109 เป็นความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือปริมาณสองปริมาณ เมื่อสิ่งหนึ่ง เพิ่มขึ้นอีกสิ่งหนึ่งลดลงอย่างเป็นสัดส่วนกัน หรือเมื่อสิ่งหนึ่งลดลงอีกสิ่งหนึ่งเพิ่มขึ้นอย่างเป็นสัดส่วน กัน กล่าวคือหากกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีการคุ้มครองสิทธิที่มากขึ้น ย่อมจะส่งผลถึง ประสิทธิภาพ ในการปราบอาชญากรรมที่ลดลง ในทางกลับกันหากกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจหรือให้สิทธิเจ้าหน้าที่ที่มากขึ้นย่อมหมายความว่าการคุ้มครองสิทธิของประชาชนจากอำนาจ ของเจ้าหน้าที่ย่อมลดลงเช่นกัน ในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า การที่รัฐจะดำเนินนโยบายไปในทิศทางใด อาจพิจารณาได้จาก สถานการณ์ของสังคมนั้น ๆ เช่น หากสังคมตกอยู่ในภาวะที่มีอาชญากรรมในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น รัฐ อาจใช้มาตรการที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปราบปรามอาชญากรรมผ่านการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ใน การใช้มาตรการทางอาญา ซึ่งแน่นอนว่าการให้อำนาจดังกล่าวย่อมทำให้สิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนถูกคุกคามได้โดยง่าย ในทางกลับกัน หากสังคมเกิดความเดือดร้อนรำคาญจากการใช้อำนาจ โดยไม่ชอบของเจ้าหน้าที่อย่างมาก รัฐอาจเพิ่มการใช้มาตรการในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนจาก เจ้าหน้าที่รัฐให้มากขึ้น เช่น ก่อนจะจับกุมผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดได้ จะต้องผ่านความเห็นชอบ จากองค์กรของรัฐ 3 องค์กร และทำคำชี้แจงต่อประชาชน รวมถึงมีการบันทึกภาพและเสียงขณะ จับกุม ซึ่งย่อมจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปราบอาชญากรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น หากมีการแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อเพิ่มการคุ้มครองสิทธิของจำเลย ก็ย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพของการควบคุมอาชญากรรมที่ลดลงเสมอ เช่น หากมีการเพิ่มมาตรการ ดักฟังทางโทรศัพท์เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานในการดำเนินคดีอาญา เพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้กระทำ ความผิด แต่ก็แลกมาด้วยสูญเสียสิทธิ์ในความเป็นส่วนตัวของประชาชนจากการไม่ถูกดักฟังโดยรัฐ ตัวอย่าง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรคท้าย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อปี พ.ศ. 2547 วางหลักไว้ว่า ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่า ตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็น พยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตาม มาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับแล้วแต่กรณี 109 ผู้เขียนได้นำแนวคิดในการอธิบายเช่นนี้มาจากการบรรยายกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญาของรองศาสตรจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3