แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
58 ในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า ก่อนการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวศาลของประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ พิพากษาอาชีพจะมีดุลพินิจในการรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ โดยชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือด้วย ดุลพินิจของตนเอง ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจต่างจากการตัดสินโดยใช้ลูกขุนซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปในการ ตัดสินในส่วนของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในคดี จึงต้องมีระบบในการตัดพยานหลักฐานเพื่อให้ พยานหลักฐานที่นำเสนอต่อลูกขุนเป็นพยานหลักฐานที่ดีที่สุดอันเป็นการช่วยคณะลูกขุนผู้ไร้ซึ่ง ประสบการณ์ในทางคดีในการตัดสินใจว่าจะเชื่อถือพยานหลักฐานดังกล่าวได้หรือไม่ จากการแก้ไขกฎหมายจะเห็นว่าการคุ้มครองสิทธินั้นเพิ่มสูงขึ้นคือประชาชนจะไม่ต้อง หวาดกลัวกับการถูกจับและบังคับข่มขู่ให้รับสารภาพ แต่ในขณะเดียวกันหากเป็นผู้กระทำความผิด จริงและรับสารภาพในชั้นสอบสวน อาจหลุดรอดจากการลงโทษไปได้เนื่องจากมีเวลาให้ได้คิด ทบทวน และปรึกษาผู้ที่มีความรู้ในเรื่องของช่องทางในการเอาตัวรอดทางกฎหมายก่อนถึงวัน พิจารณาคดี แม้ว่าขนาดจับกุมจะมีการแจ้งสิทธิในการต่อสู้คดีไว้อย่างครบถ้วน ระบบการตรวจสอบค้นหาความจริงในคดีอาญาจึงต้องคำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพในการ ควบคุมอาชญากรรมและการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ภายใต้หลักการที่ว่ากระบวนการยุติธรรมที่ดี ไม่ควรจะเน้นหนักไปในด้านใดด้านหนึ่งมากจนเกินไป และควรมีความชัดเจนในการกำหนดนโยบาย ทางอาญา เพื่อที่การดำเนินกระบวนการยุติธรรมจะได้มีทิศทางที่แน่ชัด รูปแบบของการจัดสรรอำนาจ ที่ดี ย่อมต้องคำนึงถึงความสำเร็จของเป้าหมายสำคัญทั้งสองประการของการดำเนินกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา เช่น การจัดสรรอำนาจของการตรวจสอบค้นหาความจริงในคดีอาญาในชั้นเจ้า พนักงานตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ที่ทำให้เกิดการผูกขาดอำนาจ การสอบสวนไว้กับตำรวจเพียงองค์กรเดียว ทำให้ไม่สามารถวางมาตรการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) จากภายนอกองค์กร ย่อมส่งผลในเชิงลบต่อการคุ้มครองสิทธิ และการที่ พนักงานอัยการผู้ฟ้องคดีทำงานห่างไกลจากพยานหลักฐาน ย่อมส่งผลกระทบในเชิงลบต่อ ประสิทธิภาพในการควบคุมอาชญากรรม แต่ละสังคมจึงต้องเลือกสมดุลระหว่างสองด้านภายใต้บริบท ทางสังคมนั้น ว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งในภาพรวมและส่วนย่อยจะมุ่งเน้นไปในทิศทางใด มากหรือน้อยเพียงใด เช่น สังคมที่เกิดอาชญากรรมขึ้นเป็นอันมากอาจเลือกดำเนินกระบวนวิธี พิจารณาความอาญาที่มุ่งเน้นไปทางประสิทธิภาพการควบคุมอาชญากรรมมากกว่าสังคมที่มีปัญหา ด้านอำนาจรัฐที่มากจนเกินสมควร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในแต่ละประเทศจึงเน้นสองอย่าง นี้ไม่เท่ากัน มีจุดที่สมดุลต่างกัน มีจุดยืนของระบบที่แตกต่างกัน การกำหนดรูปแบบกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาจึงไม่มีสูตรสำเร็จของรูปแบบที่เหมาะสม และไม่ควรลอกเลียนกฎหมาย ต่างประเทศโดยไม่พิจารณาถึงบริบททางสังคมและรูปแบบของการดำเนินคดีที่เป็นอยู่ การศึกษาจึง ควรเป็นไปในรูปแบบของการนำมาปรับใช้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3