แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
60 ลงโทษผู้กระทำผิดสูง เนื่องจากหากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมหรือปราบปรามอาชญากรรมหรือ จับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าความสงบเรียบร้อยของสังคมและเสรีภาพของ ประชาชนผู้สุจริตย่อมได้รับความกระทบกระเทือน การควบคุมอาชญากรรมจึงจำเป็นต้องมีการ ดำเนินการที่มีประสิทธิภาพในระดับสูง ซึ่งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นจึงต้องมีการจับกุม การฟ้องร้อง และการพิพากษาผู้กระทำผิดอาญาที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว มีการ ดำเนินการในรูปแบบที่เป็นทางการน้อย และปราศจากอุปสรรคที่กินเวลา 111 ดังนั้น จึงมีการ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความผิด (Presumption of Guilt) และเมื่อการทำงานของ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีประสิทธิภาพสูง ก็ย่อมทำให้มีผลการปราบปรามอาชญากรรมสูงตามไปด้วย ส่งผล ให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย ในส่วนของการดำเนินคดีอาญาจะดำเนินไปตามขั้นตอนต่าง ๆ 3.4.2 แนวคิดรูปแบบรัฐเสรีนิยม แนวความคิดที่ว่ากฎหมายจะมีความชอบธรรมก็ต่อเมื่อเสรีภาพส่วนบุคคลได้รับการ ยอมรับเริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดในศตวรรษที่ 18 ในยุคภูมิธรรมของยุโรปใน Two Treatises on Government (1690) จอห์น ล็อค (John Locke) เป็นคนแรกที่เขียนว่า บุคคลแต่ละคนย่อมเป็น เจ้าของความชอบธรรมของรัฐซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ "สัญญาประชาคม" (Social Contract) 112 หมายความว่า ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพติดตัวมาแต่กำเนิด แต่จำต้องถูกจำกัด สิทธิเสรีภาพนั้นไว้บางประการ โดยสมัครใจก่อให้เกิดเป็นสัญญาประชาคมเพื่อการที่จะสามารถอยู่ ร่วมกันเป็นสังคม ดังนั้น การที่ผู้ถูกปกครองยอมอยู่ใต้อำนาจของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองทำ หน้าที่ปกป้องสิทธิของประชาชนในการดำรงเสรีภาพ มีชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับ เสรีนิยมนี้ คาร์ล ป็อปเปอร์ (Karl Popper) ได้กล่าวไว้ว่า “หลักการเบื้องต้นของแนวความคิดแบบ เสรีนิยม เรียกร้องว่า การจำกัดเสรีภาพส่วนบุคคลที่ทุกคนจำเป็นต้องยอมรับเพื่อการอยู่ร่วมกันใน สังคมนั้นจะต้องมีอยู่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” ซึ่งหลักการดังกล่าวยังเป็นหัวใจของแนวคิดแบบเสรี นิยมจนถึงปัจจุบัน ภายหลังมีการพัฒนาเป็นทฤษฎีทางการเมืองแบบเสรีนิยมโดยกำหนดให้บทบาท ของรัฐจะต้องมีอยู่จำกัดการดำเนินการ และการใช้อำนาจใด ๆ ของรัฐจะต้องยึดมั่นในหลักการ 111 ศศิวิมล เสมอใจ. (2552). การบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการออกหมายจับโดยศาล. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. น. 15 112 "The Social Contract". In Our Time (7 Feb. 2008). BBC Radio Program. Melvyn Bragg, moderator; with Melissa Lane, Cambridge University; Susan James, University of London; Karen O'Brien, University of Warwick.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3