แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

61 ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเคร่งครัด ความคิดดังกล่าวของ จอห์น ล็อกได้รับการพัฒนา เพิ่มเติมโดย มองเตสกิเออร์ (Montesquieu) ดังจะเห็นได้จากแนวความคิดในเรื่องของ “หลักนิติรัฐ” ประเทศซึ่งยึดถือหลักนิติรัฐจึงมีแนวโน้มที่จะมีการดำเนินคดีอาญาที่ค่อนไปในรูปแบบ ของกระบวนการนิติธรรม (The Due Process Mode) ซึ่งรูปแบบนี้ให้ความสำคัญในเรื่องความเป็น ธรรมในแต่ละขั้นตอนต่าง ๆ และยึดถือกฎหมายหรือหลักนิติธรรมมีความสำคัญมากกว่าแนวคิดคิดใน เรื่องการควบคุมอาชญากรรม เนื่องจากการค้นหาข้อเท็จจริงซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและ อัยการหรือฝ่ายปกครองในบางกรณีอาจใช้วิธีการล่อลวง ขู่เข็ญ หรือการสร้างพยานหลักฐานขึ้นใหม่ ได้ และเพราะในรูปแบบดังกล่าวมุ่งเน้นถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญอัน จะต้องยึดถือเป็นหลัก ในการพิจารณาคดีอาญาหรือไต่สวนข้อกล่าวหาจึงต้องมีลักษณะเป็นทางการ และเปิดเผยในศาลสถิตยุติธรรม และจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ (The Presumption of Innocent) กล่าวคือ บุคคลจะไม่ถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมเพียงเพราะมี พยานหลักฐานว่าเขาได้กระทำเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ที่จะต้องพิสูจน์ความผิดนั้นให้ได้ และมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อป้องกันมิให้รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจ ซึ่งอาจส่งผลให้ขั้นตอน และวิธีดำเนินการสืบสวนสอบสวนตลอดจนการพิจารณาพิพากษาเป็นไปอย่างล่าช้า ในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า ในปัจจุบันเนื่องจากการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐนั้นย่อมส่งผล กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาโดยตรง ดังนั้น การให้อำนาจดังกล่าวจึงต้องเป็นไปอย่าง เหมาะสมต่อพฤติการณ์แห่งคดีและมีความสมดุลในระหว่างประโยชน์ของรัฐและประโยชน์ของ ประชาชน 113 แม้ว่าการนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีและลงโทษซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของกระบวนการยุติธรรมจะมีจุดมุ่งหมายให้สังคมสงบสุขแต่ก็เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในหลาย วิธีการเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากในอีกด้านหนึ่งของสังคมที่สงบสุข คือ การใช้อำนาจของรัฐนั้นจะต้องไม่ ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชนจนเกินสมควร และต้องให้การรับรองคุ้มครองหรือมี หลักประกันว่าปัจเจกชนจะไม่ได้รับการปฏิบัติจากกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น อำนาจ รัฐและสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชนจึงเป็นกรณีที่จะต้องทำให้เกิดความสมดุลและแสดงออกด้วย กระบวนการที่ชอบธรรมและเหมาะสม 114 113 คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2552). อำนาจรัฐในการ ควบคุมตัวบุคคลตามกฎหมายลักษณะพิเศษ. รายงานวิจัย สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวง ยุติธรรม. น. ก 114 เรื่องเดียวกัน.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3