แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

62 บทที่ 4 สิทธิเสรีภาพกับการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นมีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องมี การใช้อำนาจเหนือประชาชนในการจะค้นหาความจริงและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เช่น การ จับ การขัง การลงโทษด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อความ สงบเรียบร้อยของสังคมและปกป้องคุณธรรมทางกฎหมายซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ส่วนรวม 4.1 พัฒนาการของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรี และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ซึ่งทำให้ผู้นั้นสามารถ กำหนดชะตากรรมของตนเองได้ จึงต้องมีสิทธิ ซึ่งเป็นอำนาจที่กฎหมายรับรองให้แก่บุคคลที่จะกระทำ การใดที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของตนหรือบุคคลอื่น 115 และเสรีภาพ ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่ ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจครอบงำของผู้อื่น สิทธิมนุษยชน มีรากฐานจากแนวความคิดอุดมคติในเรื่องสิทธิตามธรรมชาติ ด้วยความคิด ที่ว่ามนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน จากความคิดในเรื่องกฎหมายธรรมชาติและสิทธิทางธรรมชาติ 116 โดย เป็นแนวความคิดที่ค้นหาหลักประกันคุ้มครองสิทธิของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิด ด้วยอำนาจของรัฐซึ่ง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ปกครองรัฐที่จะกระทำตามที่เห็นสมควร จึงทำให้เกิดการละเมิดต่อสิทธิ มนุษยชนได้ตามอำเภอใจ 117 ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยผู้ปกครองรัฐได้ออกกฎหมายพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์หลาย ประการและให้สิทธิในทางการเมืองมากขึ้น เช่น การที่ชาวโรมันมีการเรียกร้องให้มีการจัดทำกฎหมาย ที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือกฎหมายสิบสองโต๊ะ ซึ่งหลักการของกฎหมายสิบสองโต๊ะให้การยอมรับใน เรื่องสิทธิต่าง ๆ ของพลเมืองโรมัน ชาวโรมันทุกคนถือว่าเสมอภาคกันตามกฎหมาย เน้นความเท่า เทียมกันของชายและหญิง ประชาชนมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในกรณีที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็น 115 น้ำแท้ มีบุญสล้าง. (2566). กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเปรียบเทียบ. กรุงเทพ: วิญญู ชน. น. 51 116 ในสมัยกรีกและโรมัน อริสโตเติ้ล ปราชญ์ในยุคนั้น ได้กล่าวถึงความเป็นธรรมชาติว่าเป็น ความเป็นธรรมที่สมบูรณ์ ต่างกับสิ่งซึ่งเป็นธรรมตามกฎหมายซึ่งเป็นความเป็นธรรมที่ไม่สมบูรณ์ 117 ปกป้อง ศรีสนิท. (2563). สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพ: วิญญูชน. น. 13-17

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3