แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
64 สหประชาชาติประกอบด้วยประเทศสมาชิกเพียง 58 ประเทศ จากนั้นมา จำนวนประเทศสมาชิก เพิ่มขึ้นจนมีจำนวนเกินกว่าสามเท่าของสมาชิกเดิม อิทธิพลของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก็ ขยายมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเป็นที่อ้างอิงถึงเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนใน ประเทศทั้งหลายทั่วโลก เมื่อพิจารณาดูมาตราต่าง ๆ ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจะเห็น ว่า มาตราแรกแสดงถึงความเป็นสากลของสิทธิมนุษยชน โดยกล่าวถึงความเท่าเทียมกันของศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ทุกคน ส่วนมาตราที่สองกล่าวถึงความชอบที่จะมีสิทธิของบุคคลโดยไม่มีการเลือก ปฏิบัติใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนหลักการขั้นพื้นฐานของสิทธิที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน ปรากฏในคำปรารภซึ่งเริ่มด้วยข้อความที่เน้นการยอมรับ “ศักดิ์ศรีประจำตัวและสิทธิซึ่งเท่า เทียมกัน และไม่อาจโอนให้แก่กันได้ของสมาชิกทั้งมวลของครอบครัวมนุษย์” 119 โดยสิทธิที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจำแนกออกได้หลายประการ กล่าวคือ สิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงของ บุคคล สิทธิในความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย คือ บุคคลจะไม่ต้องรับโทษทางอาญาเว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่ กระทำนั้นกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดและโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ใน กฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ สิทธิของบุคคลที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง อันอาจทำให้ตนถูกฟ้องเป็นคดีอาญา สิทธิในครอบครัว และความเป็นอยู่ส่วนตัว เสรีภาพในเคหสถาน เสรีภาพในการเดินทางและเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร อิสรภาพจากความเป็น ทาสและการถูกทรมาน ความเสมอภาคในทางกฎหมาย การคุ้มครองเมื่อถูกจับ กักขัง หรือเนรเทศ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม การมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการสมรสและการ ตั้งครอบครัว เสรีภาพขั้นพื้นฐานในทางความคิด มโนธรรม และศาสนา การแสดงความคิดเห็น และ การแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุม และเข้าร่วมสมาคมอย่างสันติ สิทธิในการมีส่วนในรัฐบาลของ ประเทศตนโดยทางตรงหรือโดยการส่งผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างเสรี สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งครอบคลุมถึงสิทธิในการทำงาน การได้รับค่าตอบแทนเท่ากันสำหรับงานที่เท่ากัน สิทธิในการก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสม สิทธิใน การศึกษา และสิทธิในการเข้าร่วมใช้ชีวิตทางวัฒนธรรมอย่างเสรี ซึ่งปัจจุบันกระแสความคิดด้านสิทธิ มนุษยชนได้กลายเป็นกระแสที่แผ่ขยายไปทั่วโลก ควบคู่กับกระแสการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในประเทศต่าง ๆ มีบุคคล องค์การทางสังคมและการเมืองเคลื่อนไหวในรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน 119 นพนิธิ สุริยะ. (2546). เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา เอกสารประกอบการบรรยายวิชา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์เดือนตุลา. น. 490
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3