แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
65 แนวคิดดังกล่าวส่งผลอย่างยิ่งในการร่างรัฐธรรมนูญของไทย ซึ่งมีการพยายามบัญญัติเรื่อง ของสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้โดยตลอด อันเป็นหลักที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 4 ได้วางหลักไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาพของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครอง และมาตรา 34 ได้วาง หลักประกันสิทธิเสรีภาพไว้ว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำ มิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และ เท่าที่จำเป็นและจะกระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพมิได้ กล่าวคือ การตรา กฎหมายนั้นฝ่ายนิติบัญญัติไม่อาจตรากฎหมายที่จะกระทบสาระสำคัญของสิทธิเสรีภาพได้ โดย พิจารณาจากความรุนแรงและความเข้มข้นของกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพกับลักษณะสิทธิเสรีภาพใน เรื่องนั้น ๆ ประกอบกัน และการจำกัดเสรีภาพนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ อันเป็นความ ต้องการของคนส่วนใหญ่ของสังคม ซึ่งหากมีการตรากฎหมายที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพโดยมิได้เป็นไป เพื่อประโยชน์สาธารณะก็ย่อมเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ 120 อีกทั้งการจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นจะต้อง กระทำเท่าที่จำเป็นและพอสมควรแก่เหตุ โดยคำนึงถึงทั้งประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของ เอกชน 4.2 สิทธิที่จะไม่ถูกฟ้องคดีอาญาโดยไม่เป็นธรรม การปรับบทความผิดที่รุนแรงในการตั้งข้อหาโดยขาดน้ำหนักของพยานหลักฐาน หรือ เกิด จากการรวบรวมเฉพาะพยานหลักฐานที่เป็นโทษแก่ผู้ต้องหาและปฏิเสธพยานที่เป็นคุณโดยมี วัตถุประสงค์ในเรื่องความสะดวกในการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐโดยมิได้กลั่นกรอง ในอันจะนำมา ซึ่งความสะดวกในการรวบรวมพยานหลักฐานระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ หรือเพื่อการกลั่นแกล้ง แล้ว ทำความเห็นควรสั่งฟ้องโดยอ้างอิงจากคำฟ้องและพยานหลักฐานที่ไม่ได้รับการรวบรวมโดยสมบูรณ์ ย่อมทำให้หลักการที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนผู้ต้องหาเป็นบริสุทธิ์อยู่จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และ การยกฐานะของผู้ถูกกล่าวหาจากกรรมในคดีขึ้นเป็นประธานในคดี ไม่สามารถเกิดขึ้นในความเป็นจริง ในทางปฏิบัติ อีกทั้งเป็นการปรักปรำประชาชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นเป็นสิ่งสำคัญ จึงต้องมี หลักการทั้งภายในและระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลจากการใช้อำนาจรัฐใน 120 วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2543). เงื่อนไขการตรากฎหมายการจำกัดเสรีภาพของประชาชน : มาตรการตรวจสอบควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ. ปีที่ 2 เล่ม 4 (มกราคม – เมษายน). น. 190-191
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3