แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

67 เป็นผู้บริสุทธิ์ (ซึ่งมีการบัญญัติลงในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทยเป็นครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492) ซึ่งสอดคล้องกับหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11 (1) และหลักการนี้ก็ ยังคงอยู่ในรัฐธรรมนูญ ฉบับพุทธศักราช 2560 อันเป็นหลักการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาโดยตรง ซึ่งมองว่าแม้บุคคลจะถูกกล่าวหาว่าความผิด แต่ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำ พิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิด ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ แม้จะถูกควบคุมหรือคุมขังระหว่างรอ การสอบสวนหรือพิจารณาจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นชั้นสอบสวน กระบวนการสั่งฟ้องของพนักงานอัยการ และระหว่างการสอบสวนหรือพิจารณาคดี เป็นการบัญญัติ กฎหมายรองรับถึงสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่อยู่ระหว่างการถูกดำเนินคดี ในปัจจุบันเนื่องจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญานั้นย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ ของผู้ต้องหาโดยตรง ดังนั้น การให้อำนาจดังกล่าวจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมต่อพฤติการณ์แห่งคดี และมีความสมดุลในระหว่างประโยชน์ของรัฐและประโยชน์ของประชาชน 128 แม้ว่าการนำตัวผู้กระทำ ความผิดเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีและลงโทษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมจะมี จุดมุ่งหมายให้สังคมสงบสุข แต่ก็เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในหลายวิธีการเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากในอีก ด้านหนึ่งของสังคมที่สงบสุขคือ การใช้อำนาจของรัฐนั้นจะต้องไม่ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของปัจเจก ชนจนเกินสมควร และต้องให้การรับรองคุ้มครองหรือมีหลักประกันว่าปัจเจกชนจะไม่ได้รับการปฏิบัติ จากกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น อำนาจรัฐและสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกชนจึงเป็น กรณีที่จะต้องทำให้เกิดความสมดุล และแสดงออกด้วยกระบวนการที่ชอบธรรมและเหมาะสม 129 ในการกำหนดนโยบายทางอาญาจะต้องคำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพในการควบคุมอาชญากรรม และหลักนิติธรรม ซึ่งกระบวนการยุติธรรมที่ดีไม่ควรจะเน้นหนักไปในด้านใดด้านหนึ่งมากจนเกินไป ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษา อันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มี การหลบหนี ในคดีอาญา จะบังคับให้บุคคลให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองมิได้ คำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะเรียกหลักประกัน จนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” 128 คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2552). อำนาจรัฐในการ ควบคุมตัวบุคคลตามกฎหมายลักษณะพิเศษ. รายงานวิจัย สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวง ยุติธรรม. น. ก 129 เรื่องเดียวกัน.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3