แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
69 มากขึ้น และเป็นหลักประกันว่าการฟ้องคดีอาญาต่อศาลจะต้องมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ ความผิดของจำเลยในชั้นศาล 131 บทบาทในการปรับบทความผิดในปัจจุบัน หากเป็นกรณีคดีที่ฐานความผิดไม่หนักหรือไม่ ยุ่งยากซับซ้อน อำนาจในการปรับบทความผิดจะเป็นของ Custody Officer “ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่พิเศษ ที่มิได้เกี่ยวข้องกับการสอบสวน” แต่หากคดีที่มีบทลงโทษหนัก หรือมีความยุ่งยากซับซ้อนของคดี หาก Custody Officer พิจารณาแล้วเห็นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ และเป็นคดีที่โทษหนักหรือ มี ความยุ่งยากซับซ้อน ก็จะต้องส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อทำการปรับบทความผิดตาม 132 โดย ที่กฎหมายวางหลักว่า พนักงานอัยการนั้นมีอำนาจตัดสินใจในคดีความผิดร้ายแรง หรือคดีที่ซับซ้อน ยุ่งยากว่า บุคคลใดควรถูกตั้งข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือไม่ และหากเห็นควรตั้งข้อ กล่าวหาจะพิจารณาว่าควรปรับบทความผิดในความผิดฐานใด 133 นอกจากนี้ ในการสั่งคดีของอัยการอังกฤษ ยังต้องมีหลักการในการคำนึงถึงความถูกต้องของ ขอบเขตของข้อหาที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกกล่าวหา ไว้อย่างชัดเจนโดยในการพิจารณาสั่งคดีของพนักงาน อัยการยังมีการคำนึงถึงหลักเกณฑ์เบื้องต้นว่า อัยการจะต้องคำนึงถึงหลักการทั่วไปดังนี้ เพื่อให้การ พิจารณาสั่งคดีเป็นไปอย่างเหมาะสมคือ (1) การสั่งฟ้องคดี ควรสะท้อนอย่างถูกต้องถึงขอบเขตของข้อหาที่ผู้ถูกกล่าวหา เกี่ยวพันถึง และความรับผิดของผู้ถูกกล่าวหานั้น เพื่อให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดโทษได้อย่างเหมาะสม (2) การเลือกว่าจะสั่งฟ้องดำเนินคดีอย่างไร ควรมีความแน่นอนชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย โดยเฉพาะคดีที่มีผู้ต้องหาหลายคน (3) เป็นสิ่งที่ผิด หากจะใช้วิธีฟ้องร้องดำเนินคดีผู้ถูกกล่าวหาในข้อหาที่ตั้งขึ้นมากเกินสมควร แล้วให้ผู้ถูกกล่าวหาไปต่อสู้คดีเอาเองในชั้นศาล (4) เป็นสิ่งที่ผิด หากจะฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ถูกกล่าวหาในข้อหาที่หนักกว่าข้อเท็จจริงและ พยานหลักฐานที่ปรากฏขึ้นในคดี โดยเผื่อว่าผู้ต้องหาจะรับสารภาพในข้อหาที่เบา การสั่งคดีอัยการจะใช้ดุลพินิจในการสั่งฟ้องคดีเมื่อมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดี ต่อจำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่งคำพิพากษาลงโทษ ยกเว้นแต่กรณีที่การฟ้องคดีมีแนวโน้มอย่างชัดเจนว่าการ ฟ้องคดีจะไม่สอดคล้องกับประโยชน์สาธารณะโดยจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี และการที่อัยการจะ พิจารณาดำเนินคดีกับผู้ใดนั้นจะต้องครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งหากพิจารณา 131 ชาติ ชัยเดชสุริยะ. (2549). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน กระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์เดือนตุลา. น. 91-92 132 Criminal Justice Act 2003 Section 87. 133 The Code for Crown Prosecutors (2010) ข้อที่ 3.1 และข้อที่ 3.2
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3