แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
71 บทที่ 5 เสรีภาพกับการใช้มาตรการบังคับทางอาญา 5.1 หลักความได้สัดส่วนในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ การใช้อำนาจรัฐผ่านองค์กรตุลาการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นไปใน ลักษณะของการตัดสินคดี โดยนำเอาข้อกฎหมายอันถือได้ว่าเป็นเจตจำนงของประชาชนมาปรับใช้กับ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดผลตามเจตจำนงดังกล่าว แต่ในขั้นตอนของการได้มาซึ่งข้อเท็จจริงนั้น การดำเนินกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีความจำเป็นที่ จะต้องใช้อำนาจรัฐในรูปแบบของมาตรการบังคับ กล่าวคือ การที่ควบคุมตัวระหว่างคดีอันเป็นการใช้ อำนาจในการที่จะเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐนั้นเป็นมาตรการที่มีความจำเป็น 135 เพราะในระบบการ ดำเนินคดีอาญาจะไม่สามารถกระทำได้หรือกระทำได้ยากหากไม่มีตัวผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากคดีอาญา เป็นเรื่องของหลักการตรวจสอบความจริง ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องการพิสูจน์ความจริง และ มักจะมีปัญหาในเรื่องของการที่ผู้ต้องหาไม่รับสารภาพ หรือการขาดพยานหลักฐาน ดังนั้น เพื่อให้ ได้มาซึ่งพยานหลักฐานรวมถึงตัวบุคคล ในการดำเนินคดีอาญาจึงมีความจำเป็นต้องมี “การเอาตัว บุคคลไว้ในอำนาจรัฐ” ในรูปของการจับกุมและคุมขังตัวบุคคล หลักความได้สัดส่วนในการจำกัดสิทธิเสรีภาพนั้นเป็นหลักสำคัญอีกประการของหลักนิติ รัฐ ทั้งนี้ เพราะเป็นพื้นฐานของ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” อันเป็นคุณค่าที่ผูกติดอยู่กับความเป็น มนุษย์ โดยไม่เกี่ยวกับเชื่อชาติ เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด หากแต่เมื่อเขาเป็นมนุษย์ก็ควร ได้รับการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์พึงจะได้รับ และเป็นที่มาของสิทธิและเสรีภาพนั้นเอง แต่สิทธิและเสรีภาพ นั้นไม่อาจใช้ได้อย่างเต็มที่ รัฐจึงต้องเคารพขอบเขตในความเป็นอิสระของปัจเจกบุคคล โดยศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์นั้นเป็นหลักสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการกระทำของรัฐทั้งหลายจึงต้องสอดคล้อง กับคุณค่าอันสูงสุดของรัฐธรรมนูญ เพราะ “มนุษย์นั้นเป็นเป้าหมายของการดำเนินการของรัฐ และ มนุษย์นั้นมิใช้เพียงเครื่องมือในการดำเนินการของรัฐ การดำรงอยู่ของรัฐย่อมดำรงอยู่เพื่อมนุษย์ มิใช่ มนุษย์ดำรงอยู่เพื่อรัฐ” รัฐจึงต้องเคารพขอบเขตในความเป็นอิสระของปัจเจกบุคคล การแทรกแซง สิทธิและเสรีภาพโดยอำนาจรัฐจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายซึ่งผ่านความเห็นชอบของประชาชนตาม หลักความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย 136 135 คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ: วิญญู ชน. น. 338 136 บรรเจิด สิงคะเนติ. (2547). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพ: วิญญูชน. น. 23
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3