แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม

72 การจำกัดสิทธิและเสรีภาพเท่าที่จำเป็น หลักพอสมควรแก่เหตุ หรือหลักความได้สัดส่วน (der Grundsatz der Verhaeltnismassigkeit) หลักความได้สัดส่วนดังกล่าวมีรากฐานมาจากหลัก ความยุติธรรม (Gerechtigkeit) อันเป็นหลักพื้นฐานของกฎหมายทั่วไป โดยหลักความได้สัดส่วนนั้น เป็นหลักที่คำนึงถึงความยุติธรรมทั้งในส่วนของปัจเจกบุคคล และความยุติธรรมต่อสังคมโดยรวม เนื่องจากการอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้น ผลประโยชน์ของทั้งปัจเจกบุคคลและของรัฐย่อมกระทบ ต่อกันเสมอ หลักความได้สัดส่วนจึงเป็นกุญแจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์ บน หลักการของกฎหมายที่คำนึงถึงความยุติธรรมของทุกฝ่าย อีกทั้งยังเป็นหลักที่ใช้ใน “การตรวจสอบ การกระทำทั้งหลายของรัฐ” ในการจะพิจารณาว่าการกระทำของรัฐนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 137 วัตถุประสงค์ของหลักความได้สัดส่วนนั้นมิใช่เพียงแค่จำกัดการแทรกแซงของอำนาจรัฐ เท่านั้น หากแต่ยังมุ่งถึงการห้ามมิให้ใช้อำนาจรัฐตามอำเภอใจ และนอกจากนี้ หลักความได้สัดส่วนยัง มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบความชอบในการใช้อำนาจปกครองทั้งหลาย โดยหลักความได้สัดส่วน นั้นมีสาระสำคัญ 3 ประการดังนี้ 138 หลักความเหมาะสม (Geeignetheit) หลักความเหมาะสมซึ่งความเหมาะสมนั้นหมายถึง สภาพการณ์ที่รัฐได้ทำการแทรกแซง และภายในสภาพการณ์นั้นรัฐต้องคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งมาตรการนั้นจะต้อง วางอยู่บนสมมุติฐานที่ได้รับการยอมรับ หรือเป็นไปได้อย่างชัดแจ้งว่ามีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุ วัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงจะถือได้ว่ามาตรการนั้นเป็นมาตรการที่เหมาะสม หลักความเหมาะสมจึงเป็น หลักการที่บังคับให้การใช้อำนาจรัฐจะต้องพิจารณาเลือกกระทำเท่าที่สามารถดำเนินการให้บรรลุ ความมุ่งหมายตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น เช่น การเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐตามกฎหมายแล้ว จะต้องเป็นไป 1. เพื่อให้การสอบสวนดำเนินไปอย่างเรียบร้อย 2. เพื่อประกันการมีตัวของผู้ถูก กล่าวหา 3. เพื่อประกันการบังคับโทษเท่านั้น 139 มิใช่เพื่อความสะดวกในการค้นหาความจริงของ เจ้าหน้าที่ ดังนั้น หากผู้ถูกกล่าวหาไม่มีพฤติกรรมจะหลบหนีหรือยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานตามหลัก ความเหมาะสมจะต้องไม่มีการใช้อำนาจในการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ เป็นต้น 137 เรื่องเดียวกัน. น. 269 138 เรื่องเดียวกัน. น. 274 139 โปรดศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อที่ 5.3 แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมหรือขัง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3