แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
73 หลักความจำเป็น (Erforderlichketi) หลักความจำเป็น คือ การใช้มาตรการหรือวิธีการที่เหมาะสมและก่อให้เกิดผลกระทบน้อย ที่สุดเท่านั้น ซึ่งความจำเป็นของมาตรการใดมาตรการหนึ่งนั้นไม่มีอยู่ หากการบรรลุเป้าหมายเดียวกัน นั้นหรือผลสำเร็จที่ดีกว่าสามารถกระทำได้โดยวิธีการหรือมาตรการอื่นที่มีผลกระทบน้อยกว่า โดย หลักความจำเป็นถือเป็นวิธีการแทรกแซงที่น้อยที่สุดจากอำนาจรัฐ เช่น การเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจ รัฐนั้นจะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยแท้จริงเท่านั้น กฎหมายจึงได้วางหลักเกี่ยวกับการพิจารณา ถึงความจำเป็นคือเพื่อให้การสอบสวนดำเนินไปอย่างเรียบร้อย เพื่อการมีตัวผู้ต้องหา และเพื่อ ประกอบการบังคับโทษ ซึ่งรายละเอียดได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น แต่อาจนำเอาวิธีการปล่อยตัว ชั่วคราว หรือ ปล่อยตัวชั่วคราวแบบมีเงื่อนไขมาบังคับใช้ แทนที่จะขังผู้ต้องหา เป็นต้น หลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ (Verhaeltnismaessigkeit im engeren sinne) กล่าวคือ มาตรการอันใดอันหนึ่งจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความสัมพันธ์ที่เหมาะสม ระหว่างวิธีการกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อันเป็นขอบเขตเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐาน และหลักความได้ สัดส่วนในกฎหมายอย่างแคบนี้อาจกล่าวได้ว่าอยู่ที่การได้รับผลกระทบอันเกิดจากการแทรกแซง เสรีภาพของปัจเจกบุคคลนั้นจะต้องไม่อยู่นอกเหนือขอบเขตความสัมพันธ์ของประโยชน์อันเป็น เป้าหมายของสาธารณะที่กำหนดไว้ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินการตามมาตรการนี้จะต้องมี น้ำหนักมากกว่าผลเสียที่จะเกิดจากมาตรการ และผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล เช่น มีมาตรการอื่นที่ดีและให้ผลเหมือนการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐโดยกระทบสิทธิน้อยกว่า หรือไม่ อาทิ การปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีเงื่อนไข หรือการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐนั้น มี วัตถุประสงค์คือประโยชน์ของรัฐ ซึ่งหากการใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม อาทิ การใช้มาตรการบังคับเพียง เพื่อความสะดวกในการสอบสวน เป็นวิธีการที่มีผลกระทบหรือผลเสียต่อสิทธิของปัจเจกชนมากโดย ไม่คุ้มค่ากับสิทธิเสรีภาพ จึงจัดเป็นการกระทำอย่างไม่มีเหตุผล และไม่ได้สัดส่วนในความหมายอย่าง แคบ เป็นต้น 5.2 การตั้งข้อหากับการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ดีนั้นจะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ บุคคลด้วยในฐานะที่บุคคลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 140 140 คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ: วิญญู ชน. น. 47
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3