แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
74 ดังได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าการดำเนินคดีอาญานั้นมีผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงมิได้คือ การกระทบต่อเสรีภาพของประชาชนโดยตรง จึงมีการวางแนวทางอันเป็นมาตรฐานไว้ในระดับสากล ทั้งกฎมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยมาตรการไม่ควบคุมตัว (กฎโตเกียว) หรือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง (International Covenant of Civil and Political Right ) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right) โดยหลักการดังกล่าวปรากฏในกฎหมายไทย ตามหลักการที่จะต้องสันนิจฐานไว้ก่อนว่าผู้ ถูกกล่าวหานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 39 ได้วาง หลักอันเป็น หลักประกันสิทธิเสรีภาพ (The Presumption of Innocent) และในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 ซึ่งวางหลักว่า เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิด หรือไม่ ให้ยกผลประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย และการจะปฏิบัติให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าวได้ องค์กรที่กฎหมายให้อำนาจ จะต้องใช้อำนาจในการควบคุมตัวได้เพียงเท่าที่จำเป็น กรณีปรากฏความว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูก กล่าวหาจะหลบหนี หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานเท่านั้น และเมื่อความจำเป็น เช่นว่านั้นหมดไปรัฐย่อมจะต้องปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหา อันเป็นการคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูก กล่าวหาในฐานะเป็นผู้บริสุทธิ์ และการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐเพียงเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง 141 5.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการตั้งข้อหาและการรวบรวมพยานหลักฐาน ข้อหาหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหานั้นเป็น “วัตถุแห่งคดี” ในชั้น สอบสวน 142 ในอันจะเป็นแนวทางในการแสวงหาข้อเท็จจริง แม้ในชั้นนี้ข้อหาอาจยังไม่แน่นอนโดย สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามพยานหลักฐานที่เพิ่มเข้ามา และเนื่องด้วยการสอบสวนคดีอาญาจะเริ่มขึ้น เมื่อมีการกล่าวหาว่ามีการกระทำความผิดในทางอาญาเกิดขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน จะต้องทำการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้รู้ตัวผู้กระทำและเพื่อจะนำตัวผู้กระทำ ความผิดมาลงโทษ ซึ่งในการดำเนินการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว เมื่อรู้ตัวผู้กระทำความผิด แล้ว จะมีการกล่าวหาหรือมีการตั้งข้อหา การตั้งข้อหานั้นเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงต้องมี ความเป็น “เสรีนิยม” กล่าวคือ จะต้องมีการคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาในฐานะที่บุคคล นั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย ซึ่งโดยหลักการของการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐแล้ว ทุกองค์กรใน 141 เรื่องเดียวกัน. น. 337 142 เรื่องเดียวกัน. น. 200
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3