แนวคิดและหลักการสำคัญในกระบวนการยุติธรรม
75 กระบวนการยุติธรรมมีหน้าที่ “ตรวจสอบข้อเท็จจริง” กล่าวคือ ร่วมกันค้นหาความจริงที่เกิดขึ้น หา ใช่การที่รัฐลงมาเป็นคู่ความโดยมุ่งต่อสู้เอาผิดกับผู้ถูกกล่าวหาไม่ ในอดีตนั้นทางปฏิบัติพนักงานสอบสวนเพียงแต่แสวงหาพยานหลักฐาน รวบรวม เพื่อให้ ได้ข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้อหาที่ตนตั้งขึ้นเท่านั้น ซึ่งเมื่อมีมูลพอจึงสรุปสำนวนการสอบสวนเสนอ อัยการเพื่อสั่งฟ้อง หากไม่มีมูลหรือพยานหลักฐานอ่อนก็สรุปสำนวนการสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ ฟ้องไปยังพนักงานอัยการมีความเห็นต่อไป โดยแนวทางปฏิบัติดังกล่าวสอดคล้องกับประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 (ก่อนแก้ไข) ซึ่งวางหลักไว้ว่า ให้พนักงานสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะแสวงหาข้อเท็จจริงและ พฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา และเพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิด และพิสูจน์ให้เห็น ความผิด จึงมิได้มีการให้ความสำคัญกับพยานหลักฐานในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ต้องหาแต่อย่างใด โดยไม่ มีการกล่าวถึงการพิสูจน์ในด้านความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาไว้ในบทบัญญัติ ทำให้ผู้กระทำความผิด ตกเป็นกรรมในคดี ซึ่งเป็นการวางหลักกฎหมายที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดของอำนาจนิยมอย่างชัดเจน แต่ในปัจจุบันกฎหมายเริ่มให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหามากขึ้น โดยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นมาซึ่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา ฉบับที่ 22 มีผลบังคับใช้ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติใน การจับกุม การสอบสวน จากเดิมไป โดยมีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้น ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจตั้งแต่ผู้ จับกุม ผู้สืบสวน ผู้สอบสวน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดและหลักปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ เพื่อ คุ้มครองผู้ต้องหาที่ตกเป็นกรรมในคดีดังเช่นการใช้วิธีการในอดีต โดยจะต้องรวบรวมพยานหลักฐาน ทั้งเพื่อพิสูจน์ความผิดและเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา จากความเปลี่ยนแปลงของหลักการสอบสวนดังกล่าวหลาย ๆ มาตรา ประกอบกับ ตอนท้ายมาตรา 131 จะเห็นถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ต้องการให้พนักงานสอบสวนทำการ สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานของฝ่ายผู้ต้องหาด้วย โดยที่เจ้าพนักงานและศาลจะต้องฟัง ข้อเท็จจริงทั้งจากฝ่ายผู้กล่าวหาและฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา หาใช่รับฟังเฉพาะฝ่ายผู้กล่าวหาแล้วซักฟอก เอาความผิดจากผู้ถูกกล่าวหาโดยไม่คำนึงถึงข้อแก้ตัวของผู้ถูกกล่าวหา ทั้งนี้ เป็นไปตามหลัก “ฟัง ความทุกฝ่าย” (audiatur et alterapars) ซึ่งเป็นหลักที่ประกันสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาให้มีโอกาสต่อสู้ คดีได้อย่างเต็มที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3